RSI คือตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพซึ่งใช้งานกันอย่างกว้างขวางโดยทั้งนักเทรดมือใหม่และนักเทรดที่มีประสบการณ์ เหตุผลที่ได้รับความนิยมเพระว่า ประการแรก ตัวชี้วัดนี้ได้รับการออกแบบมาอย่างเรียบง่าย ทุกอย่างจะเป็นเรื่องง่ายเมื่อคุณรู้วิธีการใช้งาน อีกข้อที่ยอดเยี่ยมเกี่ยวกับ Relative Strength Index คือสามารถนำไปใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่นๆ พร้อมรองรับวิธีการและกลยุทธ์การเทรดต่างๆ วันนี้เราจะมาดูกันที่ RSI กับตัวชี้วัดโมเมนตัม MACD และ Simple Moving Average สำหรับกลยุทธ์ที่ใช้งานได้ทั้งกรอบเวลาระยะสั้นและระยะยาว
Relative Strength Index
ตัวชี้วัด RSI ใช้วัดความแข็งแกร่งของแนวโน้มและหาจุดกลับตัวที่เป็นไปได้ ประกอบด้วยเส้นฐาน 14 ช่วง และ 2 ระดับ ได้แก่ Overbought และ Oversold ระดับเหล่านี้ถูกกำหนดที่ 30 และ 70 หรือ 20 และ 80 อ้างอิงตามกลยุทธ์ของนักเทรด การกำหนดตัวชี้วัดที่ 20 และ 80 มักถือว่าเป็นวิธีการเทรดแบบระมัดระวัง (Conservative) ทำให้ตัวชี้วัดอ่อนไหวน้อยลงต่อความผันผวนของราคาและอาจทำให้ตัวชี้วัดแข็งแกร่งขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความชอบของนักเทรดด้วย
ตัวชี้วัด RSI จะได้รับสัญญาณซื้อเมื่อเส้นฐานแตะหรือตัดระดับ Oversold และเริ่มเคลื่อนที่ขึ้น และได้รับสัญญาณขายเมื่อเส้นฐานแตะเส้น Oversold และย้อนกลับลงมา
RSI + SMA + MACD
การผสมผสานนี้คือตัวชี้วัดนำสามตัวและตัวชี้วัดตามสองตัว RSI คือออสซิลเลเตอร์นำ หมายความว่ามันจะแสดงการเปลี่ยนแปลงของราคาในอนาคตที่เป็นไปได้ Simple Moving Average คือตัวชี้วัดตามสำหรับการเทรดตามแนวโน้ม (Trend Following) RSI แสดงจุดกลับตัวที่เป็นไปได้และ SMA ช่วยยืนยันสัญญาณ MACD แสดงความแข็งแกร่งของแนวโน้มตลอดจนทิศทาง ในกลยุทธ์นี้ใช้เพื่อยืนยันสัญญาณของตัวชี้วัด 2 อันแรก แล้ววิธีการอ่านสัญญาณและการใช้ตัวชี้วัดเหล่านี้ด้วยกันต้องทำอย่างไร? มาดูกันที่ตัวอย่างด้านล่าง
ในตัวอย่าง เส้นฐานของตัวชี้วัด RSI อยู่เหนือ 50 และกำลังเคลื่อนที่ขึ้น กราฟแท่งเทียนกำลังตัดเส้น SMA จากด้านล่างและเคลื่อนที่ขึ้น และตัวชี้วัด MACD ได้ให้สัญญาณซื้อ เส้นสีฟ้ากำลังตัดเส้นสีส้มด้านบนจากข้างล่าง
ซึ่งจะได้รับสัญญาณขาย หากแท่งเทียนกำลังเคลื่อนที่ใต้เส้น SMA เส้นฐาน RSI กำลังเคลื่อนที่เข้าหาระดับ Oversold และ MACD กำลังแสดงกราฟแท่งสีแดงที่มีเส้นสีฟ้ากำลังตัดเส้นสีส้มข้างล่าง
การตั้งค่าและการกำหนดค่า
หากต้องการนำตัวชี้วัดทั้ง 3 ไปใช้งาน ให้ค้นหาที่เมนูตัวชี้วัดบนแพลตฟอร์ม คุณอาจไปที่ช่องค้นหา หรือหา RSI และ MACD ในส่วนโมเมนตัม และค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในส่วน “ยอดนิยม”
ในตัวอย่างข้างต้น ตัวชี้วัดทั้งหมดจะใช้ตามการตั้งค่าเริ่มต้น แต่นักเทรดที่มีประสบการณ์สามารถเปลี่ยนการตั้งค่าของตัวชี้วัดให้สอดคล้องตามความต้องการได้
ยกตัวอย่างเช่น นักเทรดอาจเปลี่ยนระดับ Overbought และ Oversold สำหรับ RSI ช่วงสำหรับ SMA หรือช่วง MACD อย่างไรก็ตาม การใช้ตัวชี้วัดด้วยค่าเริ่มต้นก็ไม่ใช่เรื่องผิดแต่อย่างใด
สรุป
ตัวชี้วัดทั้ง 3 เหล่านี้ส่งเสริมกัน เมื่อใช้ร่วมกันอาจมอบสัญญาณความแข็งแกร่งของแนวโน้มและจุดกลับตัวให้กับนักเทรด แต่ไม่มีตัวชี้วัดใดหรือกลยุทธ์ใดที่สามารถรับประกันความสำเร็จ 100% การเทรดมีความเสี่ยงและควรเทรดอย่างรอบคอบ นักเทรดจำเป็นต้องฝึกฝนและต้องจัดการความเสี่ยงเสมอ