7 เทคนิคจัดการเงินในการเทรด

เมษายน 5, 2024

< 1 นาที

ผู้เชี่ยวชาญด้านการเทรดบางคนอาจแนะนำว่าถ้าอยากได้ผลลัพธ์จากการเทรดที่พอใจก็ให้เลือกแนวทางจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม ในความเป็นจริงการใช้เทคนิคดีๆ และเครื่องมือจัดการเงินสามารถช่วยให้นักเทรดบรรลุเป้าหมายสำคัญหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงการทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด การประเมินความเสี่ยง และปรับวิธีการเทรดตามสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลง

แล้วนักเทรดต้องทำอย่างไรเพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม? ดู 7 เทคนิคการจัดการเงินที่อาจช่วยปรับปรุงวิธีการเทรดและจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ

1. การเลือกวิธีการจัดการเงินทุน

มี 2 วิธี ในการจัดการเงินทุน แนวทางอนุรักษ์นิยมสำหรับนักเทรดที่ระมัดระวังและแนวทางเชิงรุกเพิ่มขึ้นสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ ไม่ว่าวิธีไหนที่นักเทรดเลือก สิ่งสำคัญคือการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

วิธีการแบบอนุรักษ์นิยมหมายถึงการลงทุนไม่เกิน 1% ของยอดคงเหลือของนักเทรดในหนึ่งดีลและใช้ไม่เกิน 3% ของยอดคงเหลือทั้งหมดในครั้งเดียว นี่หมายความว่านักเทรดสามารถเปิดดีลได้สูงสุด 3 ดีลในครั้งเดียว และจำนวนเงินลงทุนทั้งหมดสำหรับดีลต้องไม่เกิด 3% ของยอดคงเหลือบัญชี วิธีการนี้ถูกใช้กันมากโดยนักเทรดมือใหม่เพราะว่าใช้เงินไม่มากในการเทรด

ยกตัวอย่าง หากยอดคงเหลือทั้งหมดของนักเทรดคือ $100 พวกเขาสามารถเทรดได้ด้วย 3% ของยอดคงเหลือต่อครั้งเท่านั้น – คือจำนวน $3 พวกเขาสามารถเปิดได้สูงสุด 3 ดีล ดีลละ $1 

วิธีการเชิงรุกมากขึ้นแนะนำให้ลงทุนสูงสุด 5% ในดีล และใช้ไม่เกิน 15% ของยอดคงเหลือต่อครั้ง วิธีนี้ทำให้นักเทรดสามารถเปิดได้ 3 ดีล ดีลละ 5% ต่อครั้ง วิธีนี้มักถูกใช้โดยนักเทรดที่มีประสบการณ์มากกว่าที่รู้กลยุทธ์การเทรดและสินทรัพย์ของพวกเขาเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนั้น นักเทรดต้องกระจายความเสี่ยงของพวกเขาจึงทำให้โอกาสการขาดทุนของพวกเขาไม่เกิน 5%

2. การกระจายสินทรัพย์

การเลือกเพียงหนึ่งหรือสองสินทรัพย์และทำการเทรดแต่กับสินทรัพย์พวกนั้นสามารถเป็นเรื่องเสี่ยงได้ ตลาดไม่สามารถคาดเดาได้และการเปิดหลายดีลบนสินทรัพย์เดียวกันอาจสร้างความสูญเสียที่ไม่จำเป็น นักเทรดที่มีประสบการณ์เลือกสินทรัพย์อย่างน้อย 4-5 ชนิด เลือกตราสารที่แตกต่างกัน (เช่น หุ้น และฟอเร็กซ์, เงินดิจิตอล และ ETF) ที่มีให้ใช้งานที่เวลาแตกต่างกัน ดังนั้นเงื่อนไขการเทรดจะแตกต่างกันเล็กน้อย ความหลากหลายดังกล่าวบนพอร์ตของนักเทรดทำให้พวกเขาสามารถจัดการความสูญเสียและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกระจายพอร์ตเพื่อจัดการความเสี่ยง ให้ชมวิดีโอนี้เพื่อเจาะลึกหัวข้อนี้

3. ค้นหาจุดเข้าเทรดที่ถูกต้อง

จังหวะเข้าเทรดที่เหมาะสมที่สุดไม่มีทางที่จะแน่ใจได้ 100% แต่ก็มีวิธีที่ช่วยให้หาโอกาสเข้าเทรดและประเมินศักยภาพได้ รวมถึงการวิเคราะห์ทางเทคนิคและการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ติดตามข่าวสาร และวิเคราะห์ตลาด เพื่อรวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุด นักเทรดอาจต้องวางแผนดำเนินการล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดสินใจที่เกิดขึ้นเองและข้อผิดพลาดทั่วไปจากการเทรด

4. การเทรดกรอบเวลาระยะยาว

ตัวชี้วัดมีประโยชน์อย่างมาก แต่พวกมันไม่ได้มอบสัญญาณที่สมบูรณ์เสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจทำให้เข้าใจผิดในกรอบเวลาระยะสั้น (เว้นแต่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการเทรดระยะสั้น) นั่นคือสาเหตุว่าทำไมนักเทรดมือใหม่ต้องยึดติดกับการเทรดบนกรอบเวลาระยะยาว การเทรดระยะสั้นมีความเสี่ยงกว่ามาก นักเทรดมักละเลยเครื่องมือการวิเคราะห์ที่เหมาะสม และอาศัยสัญชาตญาณของพวกเขาเอง ซึ่งมักจบลงด้วยการสูญเสีย การตั้งเป้าหมายไปที่ระยะยาวทำให้สามารถพัฒนากลยุทธ์และวิเคราะห์สินทรัพย์ได้ดีขึ้น กระนั้น ช่วงเวลาการเทรดที่ใช้มักขึ้นอยู่กับวิธีที่ชอบของนักเทรด

5. เฮดจิ้ง

เฮดจิ้งเป็นหนึ่งในเทคนิคการจัดการเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการบริหารความเสี่ยงจากการเทรด ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปิดสถานะตรงกันข้ามสำหรับสินทรัพย์เดียวกันเพื่อปกป้องเงินในกรณีที่ทิศทางราคาสินทรัพย์ไม่ได้เป็นตามที่คิด ตัวอย่างเช่น นักเทรดอาจเปิดสถานะ “ซื้อ” และ “ขาย” ในสินทรัพย์ CFD เดียวกัน เพื่อชดเชยการคาดการณ์ผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

แม้ว่าเฮดจิ้งจะมีประโยชน์ในการจัดการความเสี่ยง แต่ก็สามารถส่งผลเสียต่อนักเทรดด้วยการตัดผลลัพธ์เชิงบวกที่อาจเกิดขึ้น วิธีนี้อาจเหมาะกับนักเทรดที่มีประสบการณ์มากกว่า เนื่องจากต้องมีการฝึกฝน ซึ่งขึ้นอยู่กับนักเทรดว่าจะเลือกแนวทางตามเป้าหมายและความชอบ

6. ขีดจำกัดการเทรด

นักเทรดที่มีประสบการณ์ทำตามกฎของตัวเลขเมื่อเป็นเรื่องของการเทรดประจำวัน หนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดคือการกำหนดขีดจำกัดสำหรับจำนวนดีลต่อวัน หรือขีดจำกัดสำหรับจำนวนดีลที่ไม่ประสบความสำเร็จติดต่อกัน ขีดจำกัดนี้สามารถช่วยชีวิตได้เมื่อนักเทรดเหนื่อยล้าและเริ่มมีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง การหยุดพักระหว่างช่วงการเทรดเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรับมือกับปัจจัยทางจิตวิทยาที่อาจเป็นอันตรายต่อการเทรดของนักเทรด อาจช่วยให้นักเทรดรวบรวมความคิดของตน ปล่อยความตึงเครียด และเตรียมจิตใจสำหรับการเทรดอีกครั้งในภายหลัง

7. วิเคราะห์เพอร์ฟอร์แมนซ์

นักเทรดจำนวนมากไม่ค่อยวิเคราะห์เพอร์ฟอร์แมนซ์ของตนเองและไม่ติดตามดีล จึงทำให้ไม่ได้รับรู้ถึงข้อผิดพลาด และไม่สามารถแก้ไขความผิดพลาดได้ การติดตามการลงทุน ผลลัพธ์ และกำไรขาดทุนเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์เชิงบวก หากไม่ทำเช่นนี้ นักเทรดอาจทำผิดพลาดแบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก การจดบันทึกการเทรดจึงมีประโยชน์ อ่านเนื้อหานี้เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจดบันทึกการเทรด ทำไมต้องจดบันทึกการเทรด

กำลังมองหาไอเดียเพิ่มเติมและแรงบันดาลใจในการเทรดใช่ไหม? ดูหัวข้อที่ชื่นชอบโดยการเลือกหมวดหมู่ที่สนใจ หากไม่แน่ใจว่าจะเรียนรู้เรื่องไหนก่อน ให้ไปที่สุดยอดเนื้อหา IQ Blog ซึ่งจะแนะนำเนื้อหายอดนิยมในหัวข้อต่างๆ

สิ่งถัดไปที่คุณควรเรียนรู้? หมุนวงล้อเพื่อค้นหา!

rainbow circle

วิธีใช้ตัวชี้วัด “Bollinger Band” ในการเทรด

แบ่งปัน

บทความก่อนหน้า

วิธีขายชอร์ตคริปโต เพื่อทำกำไรในตลาดหมี
Short selling on the crypto market.
วิธีขายชอร์ตคริปโต เพื่อทำกำไรในตลาดหมี

บทความถัดไป

Technical vs Fundamental analysis for trading
การวิเคราะห์ทางเทคนิคหรือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน – แบบไหนดีกว่า
การวิเคราะห์ทางเทคนิคหรือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน – แบบไหนดีกว่า

โพสต์ล่าสุด

วิธีขายชอร์ตคริปโต เพื่อทำกำไรในตลาดหมี

25.11.2024

Short selling on the crypto market.

การเทรดช่วงเทศกาลวันหยุด – สิ่งที่ต้องรู้

21.11.2024

Trading on Black Friday and holidays

พลังสายรุ้งของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เพิ่มขึ้นทวีคูณ

18.11.2024

ข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งเทรดที่ IQ Option – กฎ กลยุทธ์ และเคล็ดลับ

14.11.2024

IQ Option tournaments

11 บทเรียนชีวิตที่ได้เรียนรู้จาก 11 ปีของการเทรด

11.11.2024

11 years of IQ Option

การเลือกตั้งสหรัฐ 2024 – ตลาดจะตอบสนองอย่างไร

31.10.2024

US election impact on markets