STARC Bands หรือ Bollinger Bands

สิงหาคม 11, 2020

2 นาที

ตัวชี้วัด 2 อัน Stoller Average Range Channel (STARC) และ Bollinger Bands อาจดูคล้ายกันมากเมื่อนำไปใช้งานบนกราฟ มันประกอบด้วยแบนด์บนและแบนด์ล่างที่มีเส้นตัวชี้วัดอยู่ตรงกลาง ตัวชี้วัดทั้ง 2 สร้างแนวรับและแนวต้าน การตีความค่อนข้างเหมือนกัน แต่ทำงานแตกต่างกันเล็กน้อยบนกราฟ มาดูความแตกต่างระหว่างตัวชี้วัดทั้ง 2 และวิธีนำไปใช้งาน

STARC Bands กับ Bollinger Bands

ตัวชี้วัด 2 แตกต่างกันในแง่ของการคำนวณ Bollinger Bands คือตัวชี้วัดที่ได้รับความนิยมซึ่งใช้โดยนักเทรดมากมาย เพราะอ่านค่าง่ายและแสดงสัญญาณตรงๆ บนกราฟ Bollinger Bands ประกอบด้วยค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่และแบนอีก 2 อัน และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1 อัน ห่างจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ตัวชี้วัดนี้แสดงโอกาสการเทรดที่เป็นไปได้ซึ่งมาพร้อมกับความผันผวน ความผันผวนของสินทรัพย์ยิ่งสูง แบนด์จะยิ่งออกห่างจากกัน

Stoller Average Range Channel ไม่เหมือนกับ Bollinger Bands ซึ่งไม่ได้อ้างอิงตามส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เส้นกลางคือ Simple Moving Average ขณะที่เส้นด้านบน (เรียกว่า STARC Band+) ถูกสร้างโดยการเพิ่ม ATR (average true range) ไปที่ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ แบนด์ด้านล่าง (STARC Band-) ถูกสร้างโดยการลบ ATR จากค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ดังนั้นตัวชี้วัดนี้คือการรวมกันของ 2 ระบบการเทรดในหนึ่งเดียว นั่นคือ ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่และตัวชี้วัด ATR

คุณต้องเลือกอันไหน

หลักการของตัวชี้วัดทั้งสองอันคล้ายกัน ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับความชอบของนักเทรดว่าจะเลือกอันไหน แต่บางฟีเจอร์ของตัวชี้วัดทั้ง 2 อาจโน้มน้าวให้นักเทรดเลือกใช้แต่ละอัน

ยกตัวอย่างเช่น ตัวชี้วัด STARC นักเทรดอาจเปลี่ยนประเภทของแบนด์ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ และกำหนดเป็น Simple MA, Exponential หรือรูปแบบอื่นๆ จากรายการ นักเทรดยังสามารถเปลี่ยนแปลงตัวคูณได้อีกด้วย ค่าที่เพิ่มหรือลดส่วนเบี่ยงเบนของแบนด์ด้านบนและด้านล่าง การเพิ่มส่วนเบี่ยงเบนอาจเป็นประโยชน์สำหรับนักเทรดระยะยาว ขณะที่นักเทรดระยะสั้นอาจลดลงเพื่อโอกาสในการรับสัญญาณเพิ่มขึ้นจากตัวชี้วัด

การตั้งค่าตัวชี้วัด STARC บนแพลตฟอร์ม IQ Option

วิธีการอ่านค่าตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดทั้ง 2 สร้างระดับ Overbought และ Oversold สำหรับสินทรัพย์ และทั้ง 2 จะแสดงช่วงความผันผวน นักเทรดอาจพบว่าตัวชี้วัดแสดงสัญญาณขายเมื่อแท่งเทียนเข้าใกล้แบนด์ด้านบน และย้อนกลับลงด้านล่าง ซึ่งอาจหมายความว่าสินทรัพย์ถึงระดับ Overbought

ตัวชี้วัด STARC กำลังแสดงสัญญาณขาย

ได้รับสัญญาณซื้อเมื่อกราฟแตะหรือทะลุผ่านแบนด์ด้านล่างและย้อนกลับขึ้นข้างบน

Bollinger Bands มอบสัญญาณซื้อ

ตัวชี้วัดทั้ง 2 อาจเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการค้นหาจุดเข้าเทรดและจุดย้อนกลับ แต่ทำงานได้ดีที่สุดเมื่อผสานรวมเข้ากับตัวชี้วัดอื่นเพื่อช่วยยืนยันสัญญาณที่ได้รับ นักเทรดอาจผสาน STARC และ Bollinger Bands กับตัวชี้วัดโมเมนตัม เช่น RSI หรือ Stochastic อาจเป็นประโยชน์ในการนำ Stop Loss หรือ Trailing Stop Loss ไปใช้กับกลยุทธ์ เพราะตัวชี้วัดทั้งหมดอาจให้สัญญาณที่ไม่ถูกต้องเป็นบางครั้ง

โปรดทราบว่าไม่มีตัวชี้วัดใดรับประกันความสำเร็จ 100% ดังนั้นกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงที่ดีคือสิ่งจำเป็นทุกครั้ง

คุณเคยใช้ตัวชี้วัดเหล่านี้มาก่อนหรือไม่? คุณชอบตัวชี้วัดไหน? ส่งความคิดเห็นเพื่อบอกให้เรารู้ และหากคุณยังไม่ได้ทดลองใช้งาน คุณสามารถทดสอบในบัญชีทดลอง!

แบ่งปัน

บทความก่อนหน้า

เช็คลิสต์กิจวัตรการเทรด ทำทุกอย่างให้เป็นระบบ
Effective trading routine
เช็คลิสต์กิจวัตรการเทรด ทำทุกอย่างให้เป็นระบบ

บทความถัดไป

คำคมของนักเทรดมืออาชีพที่คุณต้องรู้
คำคมของนักเทรดมืออาชีพที่คุณต้องรู้

โพสต์ล่าสุด

เช็คลิสต์กิจวัตรการเทรด ทำทุกอย่างให้เป็นระบบ

17.02.2025

Effective trading routine

มองหาแนวโน้มที่แข็งแรงด้วยรูปแบบเทรนด์ต่อเนื่อง (Trend Continuation)

10.02.2025

Continuation patterns for trading

Detrended Price Oscillator (DPO) ตัวชี้วัดที่ไม่สนใจแนวโน้ม

31.01.2025

Detrended Price Oscillator

มาเทรดไปด้วยกัน ดู 3 สิทธิพิเศษที่ซ่อนอยู่ เฉพาะไทยคอมมูนิตี้เท่านั้น

23.01.2025

IQ Option communities for Thai traders

สินทรัพย์คริปโตติดท็อป ข่าวลือ และกลยุทธ์เทรดปี 2025

20.01.2025

Crypto Trading in 2025

5 กลยุทธ์เทรดสำหรับปี 2025 ค้นหากลยุทธ์ที่เหมาะกับตัวเอง

15.01.2025

5 Trading Strategies for 2025