Commodity Channel Index หรือตัวชี้วัด CCI หรือ CCI indicator คือ ตัวชี้วัดสร้างขึ้นเมื่อปี 1970 แต่ยังคงเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคชั้นนำที่ได้รับความนิยม เดิมทีตัวชี้วัดนี้ใช้วิเคราะห์ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ แต่ปัจจุบันถูกนำไปใช้กับสินทรัพย์ส่วนใหญ่ รวมถึงฟอเร็กซ์ หุ้น คริปโต ฯลฯ การเทรดด้วยตัวชี้วัด CCI อาจช่วยชี้ให้เห็นความแข็งแกร่งของแนวโน้มและทิศทางเพื่อหาจุดเข้าออกที่เป็นไปได้
อ่านตัวชี้วัด CCI ได้อย่างไร?
ข้อมูลของ CCI indicator คือ ข้อมูลที่ขึ้นอยู่กับความแตกต่างระหว่างราคาสินทรัพย์ปัจจุบันและตัวเลขเฉลี่ยในอดีต โดยพื้นฐานแล้วเมื่อเส้น CCI อยู่เหนือ 0 หมายความว่าราคาปัจจุบันสูงกว่าราคาเฉลี่ยในอดีต หากเส้นตัวชี้วัดขยับต่ำกว่า 0 แสดงว่าราคาปัจจุบันต่ำกว่าตัวเลขในอดีต
โดนัลด์ แลมเบิร์ต (Donald Lambert) ผู้คิดค้นตัวชี้วัด CCI ซึ่งสันนิษฐานว่าความผันผวนของราคาเป็นไปตามช่วงเวลาหนึ่ง เมื่อราคาไปไกลกว่าช่วงเวลาปกติเหล่านี้ มีโอกาสสูงที่ในไม่ช้าราคาจะเด้งกลับ หากนักเทรดเลือกเปิดดีลตอนนี้ นั่นเป็นเพราะคาดว่าอีกไม่นานราคาจะกลับไปสู่ช่วงเวลาเดิม
☝️
0 ถึง 100 เมื่อตัวชี้วัด CCI ขยับขึ้นจาก 0 ใกล้กับ 100 อาจชี้ให้เห็นแนวโน้ม Bullish (ขาขึ้น) ที่จุดนี้อาจเกิดราคาวิ่งย้อนกลับ (ราคาเด้งกลับไปที่ระดับก่อนหน้า) โดยทั่วไปราคาวิ่งย้อนกลับถือเป็นโอกาสในการเข้าเทรด
0 ถึง -100 กรณีที่เส้น CCI ขยับจาก 0 เข้าใกล้ -100 อาจชี้ให้เห็นถึงแนวโน้ม Bearish (ขาลง) บางคนอาจมองว่านี่เป็นโอกาสเปิดสถานะ Short (ขาย)
โปรดทราบว่า Commodity Channel Index หรือตัวชี้วัด CCI ไม่ได้ผูกมัดกับค่าเฉพาะใดๆ นั่นหมายความว่ามันสามารถสูงขึ้นหรือต่ำลงได้อย่างไม่จำกัด ดังนั้นนักเทรดจำเป็นต้องคำนึงถึงสิ่งนี้เมื่อเรียนรู้วิธีอ่านตัวชี้วัด CCI และตัดสินใจเทรดตามข้อมูล คุณอาจยืนยันการวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือทางเทคนิคอื่นๆ ร่วมด้วยก็ได้ เนื่องจากไม่มีตัวชี้วัดใดที่สามารถรับประกันความถูกต้องได้ 100%
การตั้งค่าตัวชี้วัด CCI
การตั้งค่า CCI indicator คือ การตั้งค่าที่มี 2 ค่าหลักที่ต้องพิจารณาเมื่อปรับแต่งเครื่องมือนี้สำหรับเป้าหมายการเทรด ได้แก่ ช่วงเวลา (Period) และระดับซื้อมากเกินไป (Overbought)
คุณสามารถใช้การตั้งค่าเริ่มต้นที่มีให้ในห้องเทรด IQ Option ตามที่ระบุดังภาพด้านบน หรือปรับการตั้งค่าตัวชี้วัด CCI ตามแนวทางการเทรดของคุณเอง
ใช้ตัวชี้วัด CCI อย่างไร?
การใช้ตัวชี้วัด CCI สำหรับการเทรดมีสองวิธีพื้นฐานด้วยกัน
ตัวอย่างสถานะ Long
เมื่อเส้นตัวชี้วัด CCI ข้าม +100 อาจชี้ให้เห็นว่าตลาดอยู่ในสภาวะกระทิง ซึ่งอาจเป็นช่วงเวลาที่นักเทรดบางรายอาจพิจารณาเปิดสถานะ Long (ซื้อ)
สถานะ Short
เมื่อเส้น CCI ตัดผ่าน -100 อาจชี้ให้เห็นแนวโน้มขาลง ดังนั้นนักเทรดอาจเปิดสถานะ Short (ขาย)
เนื่องจากตัวชี้วัด CCI ไม่ได้ผูกมัดกับมูลค่าคงที่ คุณจึงอาจต้องวิเคราะห์ประสิทธิภาพที่ผ่านมาของสินทรัพย์ที่เทรด วิธีนี้จะช่วยให้คุณหารูปแบบการกลับตัวของสินทรัพย์ และใช้ข้อมูลนี้หาจุดเข้าเทรดที่เป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น สินทรัพย์บางตัวอาจมีแนวโน้มกลับตัวหลังจากถึงระดับ +150 ในแนวโน้มขาขึ้นและ -200 ในแนวโน้มขาลง ดูภาพด้านล่างที่แสดงให้เห็นราคาว่าสินทรัพย์นี้เคยกลับตัวที่ประมาณ 200
โปรดทราบว่าประสิทธิภาพในอดีตไม่ใช่ตัวชี้วัดประสิทธิภาพในอนาคต ดังนั้นข้อสรุปใดก็ตามที่นักเทรดได้มาควรมีการยืนยันด้วยข้อมูลเพิ่มเติม
ไดเวอร์เจนซ์ (Divergence)
บางครั้งราคาอาจมีพฤติกรรมแตกต่างออกไปและเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับเส้นตัวชี้วัด สิ่งนี้เรียกว่าไดเวอร์เจนซ์ (Divergence) และอาจทำให้เกิดความสับสนกับการหาจุดเข้าเทรดที่เป็นไปได้ ในกรณีของ Commodity Channel Index ไดเวอร์เจนซ์อาจบ่งชี้ถึงแนวโน้มที่อ่อนตัวลง
สรุป
Commodity Channel Index (หรือตัวชี้วัด CCI) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจใช้เป็นส่วนหนึ่งของแนวทางการเทรด สามารถช่วยประเมินทิศทางของแนวโน้ม หาจุดเข้าออกที่เป็นไปได้สำหรับสถานะ Long (ซื้อ) และ Short (ขาย) ของสินทรัพย์ต่างๆ หลังจากเรียนรู้วิธีอ่านตัวชี้วัด CCI และนำข้อมูลไปใช้กับกราฟราคาแล้ว คุณจะสามารถปรับปรุงวิธีการและแนวทางการเทรดของตนเองได้