ตลาดการเงินไม่สามารถคาดเดาได้ จึงสาเหตุที่นักเทรดจำนวนมากเลือกใช้การวิเคราะห์ตลาดประเภทต่างๆ เพื่อทำการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล ในบทความนี้จะพิจารณาหัวข้อของการวิเคราะห์ทางเทคนิคกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ตลาดสองประเภทที่ได้รับความนิยมมากที่สุด การรู้ข้อเท็จจริงสามารถช่วยให้ตัดสินใจได้ว่าแนวทางไหนอาจเหมาะสมกับเป้าหมายและวิธีการเทรด
การวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับตลาดการเงิน – 4 หลักการสำคัญ
แนวคิดหลักของการวิเคราะห์ทางเทคนิคคือตลาดทำงานเหมือนกับเครื่องตรวจสอบความถูกต้องที่เกือบจะสมบูรณ์แบบ หมายความว่ากราฟราคาสะท้อนถึงปัจจัยที่ทราบทั้งหมดที่อาจส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์ ดังนั้นนักเทรดสามารถศึกษากราฟเพื่อมองหาข้อบ่งชี้ระหว่างขั้นตอนการตัดสินใจได้
นี่คือหลักการบางส่วนของการวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับตลาดการเงิน
1. ข้อมูลตลาดย้อนหลัง
การวิเคราะห์ทางเทคนิคต้องใช้ข้อมูลตลาดย้อนหลัง รวมถึงปริมาณการเทรดและความเคลื่อนไหวของราคา เพอร์ฟอร์แมนซ์ที่ผ่านมาอาจนำเสนอข้อมูลที่มีค่าเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวของราคา แต่ไม่ได้บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่น่าเชื่อถือได้ นักเทรดควรใช้งานข้อมูลย้อนหลังเป็นข้อมูลอ้างอิงสำหรับการวิเคราะห์ที่ช่วยเสริมแนวทางการเทรด
2. เน้นกราฟราคา
ไม่เหมือนกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน การวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับตลาดการเงินไม่พิจารณาค่าอ้างอิงของสินทรัพย์ แต่จะเน้นเพอร์ฟอร์แมนซ์ในอดีตที่สะท้อนในกราฟราคา อาจนำเสนอข้อมูลมีค่าเกี่ยวกับแนวโน้มของตลาดและพฤติกรรมของสินทรัพย์
3. การจดจำรูปแบบ
นักวิเคราะห์ทางเทคนิคมองหารูปแบบจากความผันผวนของราคาอยู่ตลอดเวลา มองหาแนวโน้มที่อาจเกิดขึ้นซ้ำเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้น บางส่วนอาจมองหารูปแบบเหล่านี้เมื่อกำลังพิจารณาจุดเข้าออก
4. การเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และอุปทาน
ราคาของสินทรัพย์มักเป็นไปตามกฎพื้นฐานของอุปสงค์และอุปทาน หมายความว่าอุปทานที่ลดลงในตลาดอาจนำไปสู่ความต้องการที่เพิ่มขึ้นและราคาที่สูงขึ้น และในทางกลับกัน การติดตามการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจให้ข้อมูลเชิงลึกที่มีค่าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงราคาที่อาจเกิดขึ้น
เครื่องมือหลักของการวิเคราะห์ทางเทคนิค
มีเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคจำนวนมากที่พร้อมให้นักเทรดใช้งานบนแพลตฟอร์ม IQ Option รวมถึงตัวชี้วัดทางเทคนิคมากกว่า 100 ตัวชี้วัด เส้นแนวโน้ม เส้น Fibonacci และอีกมากมาย เครื่องมือเหล่านี้อาจช่วยให้นักเทรดวิเคราะห์กราฟ ทำความเข้าใจความเคลื่อนไหวของราคา ค้นหาแนวโน้มขาขึ้นและแนวโน้มขาลง มองหาจุดกลับตัวที่เป็นไปได้ หากไม่เคยใช้ตัวชี้วัดทางเทคนิคสำหรับการเทรด บทความเกี่ยวกับ ตัวชี้วัดทางเทคนิค 3 อันดับ อาจเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี
การวิเคราะห์พื้นฐานสำหรับตลาดการเงิน – 3 แนวคิดหลัก
คนที่เชื่อการวิเคราะห์พื้นฐานมักสนใจกับการทำความเข้าใจค่าอ้างอิงของสินทรัพย์มากกว่า จากแนวคิดนี้ค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ไม่ได้ถูกสะท้อนโดยตลาดเสมอไป หมายความว่าเป็นการยากที่จะประเมินค่าของสินทรัพย์ด้วยการมองที่กราฟราคาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น นี่คือแนวคิดหลักบางส่วนที่ต้องพิจารณาเมื่อใช้การวิเคราะห์พื้นฐานสำหรับการเทรด CFD
1. เน้นมูลค่าที่แท้จริง
การวิเคราะห์พื้นฐานพยายามประเมินค่าอ้างอิงของสินทรัพย์ มูลค่า “ที่แท้จริง” ซึ่งไม่ได้สะท้อนในราคาตลาดปัจจุบันเสมอไป
2. ปัจจัยที่พิจารณา
การวิเคราะห์พื้นฐานเน้นไปที่ปัจจัยเศรษฐกิจ การเงิน และการเมืองที่อาจส่งผลต่อราคาของสินทรัพย์ในช่วงเวลาที่กำหนด นี่คือสาเหตุที่นักเทรดที่ชอบการวิเคราะห์พื้นฐานมักติดตามข่าวตลาดและใช้ปฏิทินเศรษฐกิจ เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งมักศึกษาเอกสารทางการเงิน เช่น รายงานขององค์กร เพื่อหาข้อมูลให้ได้มากที่สุดและทำการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล
บางครั้งอาจเป็นการยากที่จะประเมินมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ โดยเฉพาะสำหรับนักเทรดมือใหม่ นั่นคือสาเหตุที่แพลตฟอร์ม IQ Option นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเพอร์ฟอร์แมนซ์ในอดีตของสินทรัพย์ และข้อมูลสำคัญอื่นๆ สำหรับการวิเคราะห์อย่างละเอียด สามารถดูข้อมูลที่เกี่ยวกับสินทรัพย์ CFD ได้ในห้องเทรดด้วยการคลิกบนแท็บ “ข้อมูล” ด้านล่างโลโก้สินทรัพย์
ส่วนนี้ประกอบด้วยข่าวและปฏิทินรายได้ ทำให้สามารถติดตามเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งอาจส่งผลต่อราคาและเปลี่ยนแปลงแนวทางการเทรดได้ทันเวลา
เช่น ดูรายงานรายได้ล่าสุดจาก NVIDIA คุณอาจสังเกตว่าข้อมูลรายงานที่แท้จริงมากกว่าการคาดการณ์ ซึ่งส่งผลเชิงบวกกับราคาของสินทรัพย์ แน่นอนว่า คุณไม่มีทางเจอข้อมูลของรายงานรายได้ก่อนที่จะถูกประกาศออกมา แต่การคาดการณ์และข่าวที่เกี่ยวข้องอาจส่งผลต่อการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ให้ข้อมูลเชิงลึกและข้อบ่งชี้เพิ่มเติมเพื่อนำไปรวมไว้ในแนวทางการเทรด
3. การกำหนดราคาเป้าหมาย
หนึ่งในเป้าหมายหลักของการวิเคราะห์ทางเทคนิคคือการกำหนดราคาเป้าหมายที่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์ จากนั้นนักเทรดสามารถเปรียบเทียบกับราคาตลาดปัจจุบัน มูลค่าที่แท้จริงอาจต่ำกว่าราคาปัจจุบัน ในกรณีนี้ นักเทรดบางส่วนอาจคาดกว่าจะมีการเคลื่อนไหวขาลง ในทางกลับกัน มูลค่าที่แท้จริงอาจมากกว่าราคาตลาด จากนั้นนักเทรดจะคอยติดตามแนวโน้มขาขึ้นที่เป็นไปได้ว่าราคาอาจไปถึงระดับที่แท้จริง
โปรดทราบว่าแม้แต่การวิเคราะห์ที่ละเอียดที่สุดก็ไม่สามารถรับประกันผลลัพธ์ที่เป็นบวกได้ แต่อาจช่วยเตรียมความพร้อมสำหรับผลลัพธ์ที่แตกต่างกันและจัดการเงินทุนและความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การวิเคราะห์ทางเทคนิคกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน – แบบไหนดีกว่า
เลือกระหว่างการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและทางเทคนิคอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ นี่คือข้อสำคัญบางส่วนที่อาจพิจารณาเมื่อทำการเลือกแนวทางที่เหมาะสม
กรอบเวลา
นักเทรดอาจสนใจการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานสำหรับกรอบเวลาที่ยาวกว่า เพราะเน้นไปที่พื้นฐานพื้นฐานของสินทรัพย์และการเติบโตที่เป็นไปได้ ในทางกลับกัน การวิเคราะห์ทางเทคนิคของตลาดการเงินอาจใช้โดยนักเทรดแบบเดย์เทรดและผู้ที่ดำเนินการในกรอบเวลาที่สั้นกว่า เนื่องจากจะเน้นความเคลื่อนไหวของราคาระยะสั้นและการทำการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว
ตัวเลือกของสินทรัพย์
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานมักใช้กับหุ้นและสามารถนำไปใช้กับสินทรัพย์ต่างๆ ได้เช่นกัน
จุดสำคัญคือต้องเข้าใจว่าต้องใช้แหล่งที่มาของข้อมูลไหนสำหรับการวิเคราะห์สินทรัพย์ประเภทต่างๆ เช่น การประเมินคู่สกุลเงินในตลาดฟอเร็กซ์มีปัจจัยต่างๆ เช่น อัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ และอัตรา GDP สิ่งเหล่านี้สำคัญเพราะผลกระทบที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยน
ความชอบส่วนบุคคล
นักเทรดบางส่วนชอบการวิเคราะห์ทางเทคนิค เพราะทำให้สามารถประเมินแนวโน้มได้แบบเรียลไทม์ และทำการตัดสินใจอย่างรวดเร็วสำหรับกรอบเวลาระยะสั้น หลายคนอาจชอบใช้เวลาเพื่อมองหาจากการประกาศทางการเงิน และรายงานองค์กรเพื่อเข้าใจมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์
นอกจากยังมีตัวเลือกที่สามคือ วิธีแบบไฮบริดที่เกี่ยวข้องกับทั้งการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและทางเทคนิค การผสานแนวทางเหล่านี้อาจช่วยให้เห็นภาพรวมของการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้ครบถ้วนมากขึ้น การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานอาจมอบบริบทที่กว้างกว่า ขณะที่การวิเคราะห์ทางเทคนิคช่วยค้นหาแนวโน้มระยะสั้น สิ่งสำคัญคือไม่มีหลักประกันใดที่บอกได้ว่าแนวทางเหล่านี้จะประสบความสำเร็จ
นักเทรดต้องพิจารณาสไตล์การเทรด เป้าหมาย และความชอบ เพื่อตัดสินใจว่าแบบดีกว่าระหว่างการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานหรือทางเทคนิค จำไว้ ว่าไม่มีแนวทางแบบครอบจักรวาล และการนำทั้งสองเทคนิคไปใช้อย่างสมดุลอาจนำเสนอมุมมองที่เหมาะสมยิ่งขึ้นสำหรับการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลในโลกแห่งการเทรดที่มีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
สรุป
ตัวเลือกระหว่างการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและทางเทคนิคขึ้นอยู่กับความชอบ กรอบเวลา และสินทรัพย์ที่ต้องการเทรด แต่ก็พูดได้ว่าการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานพยายามประเมินมูลค่าที่แท้จริงของสินทรัพย์และมุมมองระยะยาว ส่วนการวิเคราะห์ทางเทคนิคของตลาดการเงินอาจเสนอแนวทางเชิงปริมาณแบบไดนามิกมากกว่าโดยอิงจากข้อมูลในอดีตและการจดจำรูปแบบ นักเทรดบางส่วนอาจเลือกที่จะผสานทั้งสองแบบเพื่อทำความเข้าใจตลาดได้มากขึ้น และต้องตระหนักว่าไม่มีแนวทางใดรับประกันความสำเร็จในโลกของการเทรดที่ไม่สามารถคาดเดาได้
บริษัทนำเสนอ CFD