ตัวชี้วัด Historical Volatility – วิธีการตั้งค่าและใช้งาน

กรกฎาคม 21, 2020

2 นาที

ตัวชี้วัด Historical Volatility คือเครื่องมือวัดค่าสถิติของความผันผวนสำหรับสินทรัพย์หรือหลักทรัพย์ในช่วงระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งจะวัดค่าว่าราคาสินทรัพย์เบี่ยงเบนจากค่าเฉลี่ยเท่าไรในช่วงกรอบเวลาหนึ่ง ตัวชี้วัดนี้ไม่แสดงทิศทางที่ราคากำลังมุ่งหน้าไป แต่สร้างมาเพื่อวัดความเบี่ยงเบนของราคาปัจจุบันจากค่าเฉลี่ยเดิม

วิธีนำไปใช้ในการเทรด

ตัวชี้วัดนี้สามารถใช้วัดความผันผวนของสินทรัพย์ได้อย่างสะดวก เมื่อ Historical Volatility กำลังเพิ่มขึ้นหรือสูงกว่าค่าเฉลี่ย หมายความว่าราคากำลังเคลื่อนที่ขึ้นลงบ่อยขึ้นและเร็วขึ้นกว่าปกติ อาจเป็นข้อบ่งชี้ถึงความไม่แน่นอนของสินทรัพย์และสัญญาณการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มที่เป็นไปได้ ในช่วงที่ Historical Volatility สูงขึ้น นักเทรดอาจเฝ้าดูสินทรัพย์อย่างใกล้ชิดมากขึ้น

เมื่อ Historical Volatility ต่ำหรือลดลง อาจเป็นสัญญาณว่าราคาสินทรัพย์กำลังจะกลับสู่ภาวะปกติและความไม่แน่นอนหายไป

ราคามีความผันผวนมากขึ้นและ Historical Volatility เพิ่มขึ้น

การใช้ตัวชี้วัดนี้ในการเทรด อาจเป็นไปได้ที่จะรู้ว่าความผันผวนของสินทรัพย์จะสูงหรือต่ำ และสามารถปรับกลยุทธ์การเทรดที่เลือกให้สอดคล้อง ความผันผวนของสินทรัพย์ยิ่งสูง ความเสี่ยงยิ่งสูง ตลาดที่ผันผวนต้องใช้ระดับ stop-loss และ take profit ที่กว้างขึ้นและมาร์จิ้นสูงขึ้น

ตัวชี้วัดนี้สามารถใช้ในกรณีที่ตลาดเป็นเทรนด์ได้อีกด้วย เพื่อวัดค่าว่าราคาจะเคลื่อนที่ห่างจากค่าเฉลี่ยได้ไกลแค่ไหน หากตัวชี้วัดแสดงความผันผวนต่ำสำหรับตลาดเป็นเทรนด์ หมายความว่าราคาไม่ผันผวน แต่จะเปลี่ยนแปลงอย่างคงที่และค่อยๆ เปลี่ยนแปลงตลอดช่วงเวลา

แนวโน้มขาขึ้นแข็งแกร่งที่มี Historical Volatility ต่ำ

ต้องใช้ร่วมกับอะไร

ตัวชี้วัดความผันผวนสามารถใช้ร่วมกับเส้นแนวโน้มและออสซิลเลเตอร์ นักเทรดอาจใช้ Historical Volatility กับ QStick ตัวชี้วัดแนวโน้มที่ใช้งานค่อนข้างง่ายซึ่งแสดงในเส้นแนวนอน 1 เส้นบนด้านล่างกราฟ

ตัวชี้วัดความผันผวนอาจช่วยกำหนดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนระดับ Stop Loss ขณะที่ QStick อาจช่วยในเรื่องจุดเข้าตลาดและทิศทางของตลาด สิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าการใช้หลายตัวชี้วัดรวมกันไม่ได้เป็นสิ่งที่จะรับประกันความสำเร็จ 100% ตัวชี้วัดทุกตัวอาจให้สัญญาณลวงเป็นบางครั้งและนักเทรดต้องเรียนรู้เพื่อแยกแยะสัญญาณเหล่านั้น

วิธีการตั้งค่า

หากต้องการตั้งค่าตัวชี้วัด Volatility ให้ไปที่แท็บ Volatility ของเมนูตัวชี้วัด

ตัวชี้วัด Historical Volatility บน IQ Option

เมื่อทำการตั้งค่าตัวชี้วัด คุณอาจบันทึกการตั้งค่าเริ่มต้น และใช้งานได้ทันที นักเทรดที่มีประสบการณ์อาจเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าเริ่มต้นและแก้ไขตัวชี้วัดให้สอดคล้องตามความต้องการตราบใดที่สามารถเข้าใจวิธีการคำนวณค่า

ตอนนี้คุณรู้วิธีการใช้งานตัวชี้วัดนี้แล้ว ไปยังแพลตฟอร์มและทดลองใช้งานได้เลย!

 

 

สิ่งถัดไปที่คุณควรเรียนรู้? หมุนวงล้อเพื่อค้นหา!

rainbow circle

ความลับของวอร์เรน บัฟเฟตต์ต่อการลงทุนในหุ้น

แบ่งปัน

บทความก่อนหน้า

การเลือกตั้งสหรัฐ 2024 – ตลาดจะตอบสนองอย่างไร
US election impact on markets
การเลือกตั้งสหรัฐ 2024 – ตลาดจะตอบสนองอย่างไร

บทความถัดไป

จุดย้อนกลับของแนวโน้ม: วิธีการค้นหา
จุดย้อนกลับของแนวโน้ม: วิธีการค้นหา

โพสต์ล่าสุด

การเลือกตั้งสหรัฐ 2024 – ตลาดจะตอบสนองอย่างไร

31.10.2024

US election impact on markets

หยุดการสูญเสียติดต่อกัน

29.10.2024

วิธีเทรดสินค้าโภคภัณฑ์ที่ IQ Option คู่มืออธิบาย 360 องศา

14.10.2024

Trading commodities on IQ Option

ซีรีส์ทีวีและเรียลลิตี้การเทรดยอดนิยม

07.10.2024

Top TV shows about trading

ขายชอร์ต – วิธีเทรดฟอเร็กซ์ในตลาดขาลง

30.09.2024

เรียนรู้วิธีเทรดด้วยกลยุทธ์ STARC Bands

27.09.2024

Trading the STARC bands strategy