7 เทคนิคจัดการเงินในการเทรด

เมษายน 5, 2024

< 1 นาที

ผู้เชี่ยวชาญด้านการเทรดบางคนอาจแนะนำว่าถ้าอยากได้ผลลัพธ์จากการเทรดที่พอใจก็ให้เลือกแนวทางจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม ในความเป็นจริงการใช้เทคนิคดีๆ และเครื่องมือจัดการเงินสามารถช่วยให้นักเทรดบรรลุเป้าหมายสำคัญหลายอย่าง ซึ่งรวมถึงการทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงของตลาด การประเมินความเสี่ยง และปรับวิธีการเทรดตามสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลง

แล้วนักเทรดต้องทำอย่างไรเพื่อพัฒนาแนวทางการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม? ดู 7 เทคนิคการจัดการเงินที่อาจช่วยปรับปรุงวิธีการเทรดและจัดการความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ

1. การเลือกวิธีการจัดการเงินทุน

มี 2 วิธี ในการจัดการเงินทุน แนวทางอนุรักษ์นิยมสำหรับนักเทรดที่ระมัดระวังและแนวทางเชิงรุกเพิ่มขึ้นสำหรับผู้ที่มีประสบการณ์ ไม่ว่าวิธีไหนที่นักเทรดเลือก สิ่งสำคัญคือการปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

วิธีการแบบอนุรักษ์นิยมหมายถึงการลงทุนไม่เกิน 1% ของยอดคงเหลือของนักเทรดในหนึ่งดีลและใช้ไม่เกิน 3% ของยอดคงเหลือทั้งหมดในครั้งเดียว นี่หมายความว่านักเทรดสามารถเปิดดีลได้สูงสุด 3 ดีลในครั้งเดียว และจำนวนเงินลงทุนทั้งหมดสำหรับดีลต้องไม่เกิด 3% ของยอดคงเหลือบัญชี วิธีการนี้ถูกใช้กันมากโดยนักเทรดมือใหม่เพราะว่าใช้เงินไม่มากในการเทรด

ยกตัวอย่าง หากยอดคงเหลือทั้งหมดของนักเทรดคือ $100 พวกเขาสามารถเทรดได้ด้วย 3% ของยอดคงเหลือต่อครั้งเท่านั้น – คือจำนวน $3 พวกเขาสามารถเปิดได้สูงสุด 3 ดีล ดีลละ $1 

วิธีการเชิงรุกมากขึ้นแนะนำให้ลงทุนสูงสุด 5% ในดีล และใช้ไม่เกิน 15% ของยอดคงเหลือต่อครั้ง วิธีนี้ทำให้นักเทรดสามารถเปิดได้ 3 ดีล ดีลละ 5% ต่อครั้ง วิธีนี้มักถูกใช้โดยนักเทรดที่มีประสบการณ์มากกว่าที่รู้กลยุทธ์การเทรดและสินทรัพย์ของพวกเขาเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนั้น นักเทรดต้องกระจายความเสี่ยงของพวกเขาจึงทำให้โอกาสการขาดทุนของพวกเขาไม่เกิน 5%

2. การกระจายสินทรัพย์

การเลือกเพียงหนึ่งหรือสองสินทรัพย์และทำการเทรดแต่กับสินทรัพย์พวกนั้นสามารถเป็นเรื่องเสี่ยงได้ ตลาดไม่สามารถคาดเดาได้และการเปิดหลายดีลบนสินทรัพย์เดียวกันอาจสร้างความสูญเสียที่ไม่จำเป็น นักเทรดที่มีประสบการณ์เลือกสินทรัพย์อย่างน้อย 4-5 ชนิด เลือกตราสารที่แตกต่างกัน (เช่น หุ้น และฟอเร็กซ์, เงินดิจิตอล และ ETF) ที่มีให้ใช้งานที่เวลาแตกต่างกัน ดังนั้นเงื่อนไขการเทรดจะแตกต่างกันเล็กน้อย ความหลากหลายดังกล่าวบนพอร์ตของนักเทรดทำให้พวกเขาสามารถจัดการความสูญเสียและความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้

หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกระจายพอร์ตเพื่อจัดการความเสี่ยง ให้ชมวิดีโอนี้เพื่อเจาะลึกหัวข้อนี้

3. ค้นหาจุดเข้าเทรดที่ถูกต้อง

จังหวะเข้าเทรดที่เหมาะสมที่สุดไม่มีทางที่จะแน่ใจได้ 100% แต่ก็มีวิธีที่ช่วยให้หาโอกาสเข้าเทรดและประเมินศักยภาพได้ รวมถึงการวิเคราะห์ทางเทคนิคและการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน ติดตามข่าวสาร และวิเคราะห์ตลาด เพื่อรวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุด นักเทรดอาจต้องวางแผนดำเนินการล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงการตัดสินใจที่เกิดขึ้นเองและข้อผิดพลาดทั่วไปจากการเทรด

4. การเทรดกรอบเวลาระยะยาว

ตัวชี้วัดมีประโยชน์อย่างมาก แต่พวกมันไม่ได้มอบสัญญาณที่สมบูรณ์เสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจทำให้เข้าใจผิดในกรอบเวลาระยะสั้น (เว้นแต่ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับการเทรดระยะสั้น) นั่นคือสาเหตุว่าทำไมนักเทรดมือใหม่ต้องยึดติดกับการเทรดบนกรอบเวลาระยะยาว การเทรดระยะสั้นมีความเสี่ยงกว่ามาก นักเทรดมักละเลยเครื่องมือการวิเคราะห์ที่เหมาะสม และอาศัยสัญชาตญาณของพวกเขาเอง ซึ่งมักจบลงด้วยการสูญเสีย การตั้งเป้าหมายไปที่ระยะยาวทำให้สามารถพัฒนากลยุทธ์และวิเคราะห์สินทรัพย์ได้ดีขึ้น กระนั้น ช่วงเวลาการเทรดที่ใช้มักขึ้นอยู่กับวิธีที่ชอบของนักเทรด

5. เฮดจิ้ง

เฮดจิ้งเป็นหนึ่งในเทคนิคการจัดการเงินที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการบริหารความเสี่ยงจากการเทรด ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปิดสถานะตรงกันข้ามสำหรับสินทรัพย์เดียวกันเพื่อปกป้องเงินในกรณีที่ทิศทางราคาสินทรัพย์ไม่ได้เป็นตามที่คิด ตัวอย่างเช่น นักเทรดอาจเปิดสถานะ “ซื้อ” และ “ขาย” ในสินทรัพย์ CFD เดียวกัน เพื่อชดเชยการคาดการณ์ผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น

แม้ว่าเฮดจิ้งจะมีประโยชน์ในการจัดการความเสี่ยง แต่ก็สามารถส่งผลเสียต่อนักเทรดด้วยการตัดผลลัพธ์เชิงบวกที่อาจเกิดขึ้น วิธีนี้อาจเหมาะกับนักเทรดที่มีประสบการณ์มากกว่า เนื่องจากต้องมีการฝึกฝน ซึ่งขึ้นอยู่กับนักเทรดว่าจะเลือกแนวทางตามเป้าหมายและความชอบ

6. ขีดจำกัดการเทรด

นักเทรดที่มีประสบการณ์ทำตามกฎของตัวเลขเมื่อเป็นเรื่องของการเทรดประจำวัน หนึ่งในสิ่งสำคัญที่สุดคือการกำหนดขีดจำกัดสำหรับจำนวนดีลต่อวัน หรือขีดจำกัดสำหรับจำนวนดีลที่ไม่ประสบความสำเร็จติดต่อกัน ขีดจำกัดนี้สามารถช่วยชีวิตได้เมื่อนักเทรดเหนื่อยล้าและเริ่มมีอารมณ์มาเกี่ยวข้อง การหยุดพักระหว่างช่วงการเทรดเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อรับมือกับปัจจัยทางจิตวิทยาที่อาจเป็นอันตรายต่อการเทรดของนักเทรด อาจช่วยให้นักเทรดรวบรวมความคิดของตน ปล่อยความตึงเครียด และเตรียมจิตใจสำหรับการเทรดอีกครั้งในภายหลัง

7. วิเคราะห์เพอร์ฟอร์แมนซ์

นักเทรดจำนวนมากไม่ค่อยวิเคราะห์เพอร์ฟอร์แมนซ์ของตนเองและไม่ติดตามดีล จึงทำให้ไม่ได้รับรู้ถึงข้อผิดพลาด และไม่สามารถแก้ไขความผิดพลาดได้ การติดตามการลงทุน ผลลัพธ์ และกำไรขาดทุนเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้บรรลุผลลัพธ์เชิงบวก หากไม่ทำเช่นนี้ นักเทรดอาจทำผิดพลาดแบบเดิมซ้ำแล้วซ้ำอีก การจดบันทึกการเทรดจึงมีประโยชน์ อ่านเนื้อหานี้เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการจดบันทึกการเทรด ทำไมต้องจดบันทึกการเทรด

กำลังมองหาไอเดียเพิ่มเติมและแรงบันดาลใจในการเทรดใช่ไหม? ดูหัวข้อที่ชื่นชอบโดยการเลือกหมวดหมู่ที่สนใจ หากไม่แน่ใจว่าจะเรียนรู้เรื่องไหนก่อน ให้ไปที่สุดยอดเนื้อหา IQ Blog ซึ่งจะแนะนำเนื้อหายอดนิยมในหัวข้อต่างๆ

สิ่งถัดไปที่คุณควรเรียนรู้? หมุนวงล้อเพื่อค้นหา!

rainbow circle

3 สุดยอดคุณสมบัติแพลตฟอร์มที่คุณต้องลอง

แบ่งปัน

บทความก่อนหน้า

การเทรด OTC – คู่มือสำหรับการเทรดช่วงวันหยุดและนอกเวลาตลาด
OTC trading on IQ Option
การเทรด OTC – คู่มือสำหรับการเทรดช่วงวันหยุดและนอกเวลาตลาด

บทความถัดไป

Technical vs Fundamental analysis for trading
การวิเคราะห์ทางเทคนิคหรือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน – แบบไหนดีกว่า
การวิเคราะห์ทางเทคนิคหรือการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน – แบบไหนดีกว่า

โพสต์ล่าสุด

การเทรด OTC – คู่มือสำหรับการเทรดช่วงวันหยุดและนอกเวลาตลาด

16.09.2024

OTC trading on IQ Option

เพิ่มพลังกลยุทธ์ด้วย Relative Vigor Index

11.09.2024

Trading with the Relative Vigor Index

หนังสือยอดเยี่ยม 4 เล่ม จากผู้เชี่ยวชาญการเทรด

07.09.2024

ตัวชี้วัด Psychological Line – เคล็ดลับและกลยุทธ์เทรด

02.09.2024

Psychological Line indicator

คู่มือสำหรับนักเทรดที่ห่างหายไปนานเพื่อกลับเข้าสู่ตลาดอีกครั้ง

29.08.2024

How to get back to trading

3 เคล็ดลับการเทรดเพิ่มประสิทธิภาพ

24.08.2024