มองหาแนวโน้มที่แข็งแรงด้วยรูปแบบเทรนด์ต่อเนื่อง (Trend Continuation)

กุมภาพันธ์ 10, 2025

3 นาที

เคยเจอแบบนี้หรือไม่? หุ้นกำลังเป็นแนวโน้มขาขึ้นอย่างชัดเจน แล้วอยู่ๆ ราคาก็เริ่มไซด์เวย์ หรือเทรนด์กำลังเป็นแนวโน้มขาลงที่ดูเหมือนจะหยุดแต่กลับดิ่งลงไปอีก

สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ข้อมูลรบกวนของตลาดแบบสุ่ม แต่เป็นรูปแบบเทรนด์ต่อเนื่อง (Trend Continuation) หากเข้าใจวิธีนำรูปแบบต่อเนื่องไปใช้กับการวิเคราะห์ทางเทคนิคก็จะสามารถเปลี่ยนการหยุดชะงักเหล่านี้ให้กลายเป็นโอกาสทำกำไรได้

ลักษณะของรูปแบบเทรนด์ต่อเนื่อง (Trend Continuation)

รูปแบบเทรนด์ต่อเนื่อง (Trend Continuation) เป็นการหยุดพักของเทรนด์ก่อนที่ราคาจะเคลื่อนไหวต่อไปในทิศทางเดิม

รูปแบบเทรนด์ต่อเนื่องเกิดขึ้นจากจิตวิทยานักลงทุน เพราะเทรดเดอร์มีการทำกำไร กำลังลังเล หรือรอข้อมูลใหม่ แต่โมเมนตัมพื้นฐานจะไม่เปลี่ยนแปลง นั่นคือลักษณะของรูปแบบต่อเนื่องในตลาด

วิธีมองหารูปแบบต่อเนื่อง

จับตาดูสิ่งเหล่านี้

แนวโน้มแข็งแกร่งก่อนที่รูปแบบจะเกิดขึ้น (ขึ้นหรือลงไม่สำคัญ แค่ต้องแน่ใจว่ามีโมเมนตัมจริง)
ช่วงที่ราคาแกว่งตัวอยู่ในกรอบ เมื่อราคาเคลื่อนไหวแบบไซด์เวย์จะทำให้เกิดรูปแบบที่ชัดเจน
ราคาทะลุกรอบในทิศทางเดียวกับแนวโน้มเดิม เป็นการยืนยันว่าเกิดรูปแบบต่อเนื่องที่แท้จริง และไม่ใช่กับดักของจุดกลับตัว

ประเภทของรูปแบบเทรนด์ต่อเนื่อง (และวิธีนำไปใช้เทรด)

1. ธง (Flag) – ตลาดหยุดพักช่วงสั้นๆ

ลองนึกถึงราคาหุ้นที่กำลังวิ่งอย่างรวดเร็วจากนั้นชะลอลงอย่างกะทันหัน และเคลื่อนไหวอยู่ในช่องแคบๆ นั่นคือรูปแบบธงตอนที่ตลาดกำลังพักหายใจ

วิธีการค้นหา

  • bbมองหาความเคลื่อนไหวของราคาที่รุนแรง (เสาธง)
  • ราคาเคลื่อนไหวแบบไซด์เวย์เป็นขาลงหรือขาขึ้นเล็กน้อย
  • ราคาทะลุกรอบจะเป็นการยืนยันรูปแบบ

เคล็ดลับมือโปร – ในรูปแบบแนวโน้มขาขึ้นต่อเนื่อง ธงจะเอียงลงเล็กน้อยก่อนที่จะเริ่มสูงขึ้น ส่วนธงขาลงจะเอียงขึ้นก่อนที่ลดลงมา

ตัวอย่างธงขาลง
ตัวอย่างธงขาลง
ตัวอย่างธงขาขึ้น
ตัวอย่างธงขาขึ้น

การดำเนินการ – เข้าเทรดเมื่อราคาทะลุตามทิศทางของแนวโน้ม ตั้งระดับ Stop Loss ไว้ต่ำกว่า/เหนือรูปแบบธง และเดินหน้าตามการเคลื่อนไหว

2. ธงปลายแหลม (Pennant) – เหมือนกับรูปแบบธงแต่แหลมกว่า

ธงปลายแหลมมีลักษณะเหมือนสามเหลี่ยมขนาดเล็กที่ก่อตัวขึ้นหลังจากการเคลื่อนไหวที่รุนแรง ต่างจากรูปแบบธงตรงที่ไม่ได้เอียงขึ้นหรือเอียงลง แต่จะก่อตัวเป็นหน้าจั่วที่สมมาตรก่อนที่จะทะลุกรอบ

วิธีการค้นหา

  • ธงปลายแหลมขาขึ้น (Bullish Pennant) = หลังจากราคามีแนวโน้มขาขึ้น ราคาจะก่อตัวเป็นสามเหลี่ยมก่อนที่จะทะลุสูงขึ้น
  • ธงปลายแหลมขาลง (Bearish Pennant) = มีลักษณะเหมือนกันแต่เป็นแนวโน้มขาลง
ตัวอย่างธงสามเหลี่ยมขาขึ้น
ตัวอย่างธงสามเหลี่ยมขาขึ้น
ตัวอย่างธงสามเหลี่ยมขาลง
ตัวอย่างธงสามเหลี่ยมขาลง

การดำเนินการ – เข้าเทรดหากปริมาณเพิ่มขึ้นเมื่อราคาทะลุกรอบ ซึ่งเป็นการยืนยันที่มั่นใจได้ หากปริมาณไม่แข็งแกร่งพอ ให้รอดูการยืนยันเพิ่มเติม

3. สี่เหลี่ยมผืนผ้า (Rectangle) – ราคาไซด์เวย์

ในรูปแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ราคาจะเด้งระหว่างสองระดับในแนวนอน นั่นคือ ระดับแนวรับและระดับแนวต้าน ซึ่งจะเป็นแบบนี้จนกว่าจะเคลื่อนไหวไปในทางใดทางหนึ่ง

วิธีการค้นหา

  • หากราคาทะลุเหนือแนวต้านจะหมายถึงรูปแบบต่อเนื่องขาขึ้น
  • หากทะลุต่ำกว่าแนวรับจะหมายถึงรูปแบบต่อเนื่องขาลง
ตัวอย่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าขาขึ้น
ตัวอย่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าขาขึ้น
ตัวอย่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าขาลง
ตัวอย่างสี่เหลี่ยมผืนผ้าขาลง

การดำเนินการ – เข้าเทรดเมื่อราคาทะลุออกมา แต่ต้องดูปริมาณด้วย

4. หน้าจั่ว (Wedge) – ธงสามเหลี่ยมพร้อมข้อวินิจฉัย

หน้าจั่วจะเกิดขึ้นเมื่อราคาเคลื่อนไหวในช่วงแคบๆ ไม่ว่าจะลาดเอียงขึ้นหรือลาดเอียงลง ลักษณะคล้ายธงสามเหลี่ยม แต่ความแตกต่างที่สำคัญอยู่ที่ธงสามเหลี่ยมจะเป็นไซด์เวย์ในแนวนอน ส่วนหน้าจั่วเป็นได้ทั้งหน้าจั่วขาขึ้นและหน้าจั่วขาลง

วิธีการค้นหา

  • หน้าจั่วขาขึ้น (Rising Wedge) เกิดขึ้นในแนวโน้มขาลง และมักจะทะลุต่ำลง (ขาลง)
  • หน้าจั่วขาลง (Falling Wedge) เกิดขึ้นในแนวโน้มขาขึ้น และมักจะทะลุสูงขึ้น (ขาขึ้น)
ตัวอย่างหน้าจั่วขาลง
ตัวอย่างหน้าจั่วขาลง
ตัวอย่างหน้าจั่วขาขึ้น
ตัวอย่างหน้าจั่วขาขึ้น

เคล็ดลับมือโปร – หน้าจั่วอาจสร้างความสับสนได้ ให้มองหาปริมาณที่กำลังลดลงตอนที่หน้าจั่วกำลังเกิดขึ้น หากปริมาณพุ่งสูงขึ้นเมื่อเกิดการทะลุกรอบ นั่นแปลว่าไฟเขียว และให้ตั้ง Stop Loss ไว้นอกรูปแบบหน้าจั่วเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกหลอก

5. ถ้วยและที่จับ (Cup and Handle) – ช่วงพักจิบกาแฟของแนวโน้ม

รูปแบบนี้หน้าตาเหมือนถ้วย โดยที่ราคาจะก่อตัวเป็นฐานกลมๆ จากนั้นย่อตัวลงเล็กน้อย (ที่จับ) ก่อนที่จะทะลุกรอบสูงขึ้นไป

💡 เคล็ดลับมือโปร – Cup and Handle ใช้ได้กับรูปแบบต่อเนื่องขาขึ้นเท่านั้น หากเห็นว่าเป็นแนวโน้มขาลง นั่นไม่ใช่ถ้วย

การดำเนินการ – เข้าซื้อเมื่อราคาทะลุเหนือที่จับ และตั้ง Stop Loss ไว้ต่ำกว่าจุดต่ำสุดของที่จับ

ตัวอย่างรูปแบบ Cup and Handle
ตัวอย่างรูปแบบ Cup and Handle

วิธีนำรูปแบบต่อเนื่องมาใช้กับการวิเคราะห์ทางเทคนิค

หลังจากที่ทำความเข้าใจลักษณะที่เกิดขึ้นแล้ว ต่อไปจะมาพูดถึงการนำไปใช้งานจริง

  1. ยืนยันแนวโน้มก่อน – รูปแบบเหล่านี้ได้ผลเฉพาะในกรณีที่มีแนวโน้มชัดเจนก่อนเกิดการก่อตัว หากราคาผันผวนขึ้นลงรุนแรงสลับกัน (Choppy) นั่นไม่ใช่รูปแบบต่อเนื่อง แต่เป็นลักษณะเหวี่ยงขึ้นลง
  2. รอทะลุกรอบ – เพียงแค่เห็นว่ารูปแบบกำลังเกิดขึ้น ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างพร้อมแล้ว การทะลุกรอบหลอกสามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงต้องรอการยืนยันที่แน่นอน
  3. ปริมาณเป็นเหมือนเพื่อนแท้ – ราคาทะลุกรอบที่มีปริมาณการซื้อขายต่ำ = การเคลื่อนไหวที่ไม่แข็งแกร่งพออาจล้มเหลว หากกำลังเทรดราคาทะลุกรอบ ต้องตรวจสอบว่าปริมาณมีความสอดคล้อง ซึ่งสามารถเพิ่มวิดเจ็ตปริมาณลงในกราฟได้จากแท็บตัวชี้วัด
  4. ตั้ง Stop Loss – แค่เห็นรูปแบบต่อเนื่องไม่ได้หมายความว่าจะสำเร็จเสมอไป ให้ตั้ง Stop Loss ไว้นอกรูปแบบเสมอเพื่อปกป้องตัวเอง

สรุปเกี่ยวกับการเทรดด้วยรูปแบบเทรนด์ต่อเนื่อง (Trend Continuation)

การจดจำลักษณะที่เกิดขึ้นของรูปแบบเทรนด์ต่อเนื่อง (Trend Continuation) จะช่วยให้มองเห็นโอกาสทำกำไรได้มากขึ้น รูปแบบเหล่านี้ไม่ได้คาดการณ์อนาคต แต่ช่วยชี้ให้เห็นความเคลื่อนไหวที่สำคัญก่อนจะเกิดขึ้นจริง

เรียนรู้ให้เชี่ยวชาญเพื่อหารูปแบบต่อเนื่องอย่างมืออาชีพ!

แบ่งปัน

บทความก่อนหน้า

IQ Option สำหรับมือใหม่ คู่มือฉบับสมบูรณ์
IQ Option for beginners (How to use IQ Option for beginners)
IQ Option สำหรับมือใหม่ คู่มือฉบับสมบูรณ์

บทความถัดไป

Detrended Price Oscillator
Detrended Price Oscillator (DPO) ตัวชี้วัดที่ไม่สนใจแนวโน้ม
Detrended Price Oscillator (DPO) ตัวชี้วัดที่ไม่สนใจแนวโน้ม

โพสต์ล่าสุด

IQ Option สำหรับมือใหม่ คู่มือฉบับสมบูรณ์

22.04.2025

IQ Option for beginners (How to use IQ Option for beginners)

รหัสโปรโมชั่น iq option – เทรดพร้อมสิทธิประโยชน์

14.04.2025

การเทรดที่ IQ Option เป็นฮาลาลหรือฮารอม

07.04.2025

Is trading on IQ Option Halal or Haram

วิธีเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะกับการเทรด

31.03.2025

How to Choose the Right Indicators

เกร็ดความรู้การเทรดไบนารีออปชัน – 5 เคล็ดลับช่วยประหยัดเงินและเวลา

24.03.2025

เช็คข้อเท็จจริง 5 ความเชื่องมงายเกี่ยวกับการเทรด

17.03.2025