ทำไมเทรดแล้วขาดทุน

กรกฎาคม 30, 2020

< 1 นาที

ทำไมถึงขาดทุนแทนที่จะได้กำไร ในการเทรดมีหลายเหตุผลที่ทำให้ดีลหรือผลลัพธ์ที่ตามมาของดีลผิดพลาดและจบลงที่นักเทรดต้องขาดทุน ปัจจัยที่ส่งผลกระทบสามารถแบ่งออกเป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายในอาจรวมถึงสภาวะทางอารมณ์ของนักเทรด ความรู้ที่มี ประสบการณ์ และวิธีการเทรด ปัจจัยภายนอกคือปัจจัยที่นักเทรดไม่สามารถควบคุม ได้แก่ สภาวะตลาด อัตราอุปสงค์และอุปทาน จิตวิทยาฝูงชน ในบทความนี้ เราจะมาพิจารณาประเด็นเหล่านี้ทั้งหมดที่มีส่วนทำให้เกิดการขาดทุน

ปัจจัยภายใน

ปัจจัยภายในคือปัจจัยที่นักเทรดสามารถจัดการและปรับปรุงได้ สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับนักเทรดโดยสิ้นเชิงและเป็นความรับผิดชอบของนักเทรดที่จะกำจัดอิทธิพลที่มีต่อกลยุทธ์การเทรด

  • สภาวะทางอารมณ์ จิตวิทยาของนักเทรดมีบทบาทสำคัญอย่างมาก ท่ามกลางปัจจัยอื่นๆ ทั้งหมด สภาวะที่นักเทรดกำลังเทรดอาจเป็นเหตุผลสำหรับการตัดสินใจที่ไม่ดีบางอย่าง หากนักเทรดรู้สึกวิตกกังวลหรือกำลังโมโห อารมณ์เหล่านี้ย่อมส่งผลต่อการตัดสินใจ แต่อย่าเข้าใจผิด อารมณ์เชิงบวกก็ใช่ว่าจะดี ความสุขที่มากเกินไป ความตื่นเต้น และความหวังที่ทำให้เข้าใจผิด อาจสร้างความเสียหายอย่างมาก
  • การขาดความรู้ นักเทรดบางคนพยายามหนีการเรียนรู้จึงหันไปใช้หุ่นยนต์ บางคนขอความช่วยเหลือจาก “ผู้จัดการการเทรด” ซึ่งมักจะกลายเป็นพวกหลอกลวง บ้างก็อาศัยโชคลางและเทรดเป็นครั้งคราว โดยไม่มีการเตรียมการ ส่วนคนที่มองการเทรดเป็นเกมย่อมจบลงด้วยการขาดทุนแน่นอน การรอความช่วยเหลือจากคนอื่นเป็นความคิดที่ไร้เดียงสา นักเทรดต้องเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งที่กำลังทำและต้องพึ่งพาตนเอง ก่อนที่จะเปิดดีล นักเทรดควรเรียนรู้เกี่ยวกับชั่วโมงการเทรดที่ดีที่สุดและแย่ที่สุด รวมทั้งสินทรัพย์ที่มีผลประกอบการดีหรือไม่ดี การตัดสินใจอย่างมีเหตุผลขึ้นอยู่กับความรู้เท่านั้นไม่ใช่โชคช่วย
  • ไม่มีการจัดการความเสี่ยง หนึ่งในเหตุผลหลักที่ทำให้ขาดทุนคือไม่มีแผนจัดการความเสี่ยง นักเทรดมักมองดูดีลและถลำลึกสู่การขาดทุนก่อนที่จะปิดดีลได้ทัน ซึ่งไม่ยอมใช้ระดับ Stop Loss และนำเงินที่มีทั้งหมดไปเสี่ยงกับ “สิ่งที่มั่นใจ”
  • ความคาดหวังสูง นักเทรดจำนวนมากเชื่อว่าตัวเองจะทำเงินได้มากแน่ๆ นั่นคือสาเหตุที่นักเทรดรีบงเข้าสู่การเทรด เปิดดีลโดยไม่พิจารณาอย่างถี่ถ้วนและไม่มีแผนสำรอง การเทรดไม่ได้เกี่ยวกับสิ่งที่สมควรได้รับ แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการใช้ทักษะ ความต้องการที่ไม่สนความจริงมีแต่จะทำให้เกิดปัญหา ดังนั้นจึงควรรอบคอบกับทุกเรื่อง หมั่นเรียนรู้และฝึกฝนอยู่ตลอดเวลา

ปัจจัยภายนอก

การเทรดไม่ได้ขึ้นอยู่กับนักเทรดทุกอย่าง บางคนมีกลยุทธ์ที่มั่นใจว่าจะได้ผล แต่บางครั้งกลับขาดทุน

ตลาดขับเคลื่อนโดยมวลชน เมื่อสินทรัพย์มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหมายความว่าอย่างไร นั่นแปลว่ามีคนจำนวนมากกำลังซื้อสินทรัพย์นั้น คนซื้อยิ่งมาก ราคายิ่งสูง สินทรัพย์จึงมีมูลค่าเพิ่มขึ้น แต่เมื่อถึงจุดหนึ่ง จำนวนคนที่ต้องการซื้อในราคาสูงจะลดลง ส่วนคนที่ซื้อมาแล้วจะเริ่มวิตกว่าราคาอาจร่วงลง จึงตัดสินใจขายสินทรัพย์ เมื่อคนจำนวนมากเริ่มเทขาย สินทรัพย์จะเริ่มมีค่าน้อยลง และราคาลดลง

นั่นเป็นคำอธิบายกลไกทั่วไป ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจิตวิทยาของฝูงชนมีอิทธิพลต่อตลาด และรูปแบบนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับนักเทรดรายบุคคล อาจเป็นเรื่องยากที่จะไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับฝูงชน และยากที่จะหลีกเลี่ยงอิทธิพลจากความคิดเห็นของคนอื่น แต่นักเทรดจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อประเมินตลาดอย่างละเอียดและตัดสินใจด้วยตนเอง

สรุป

หากต้องการหยุดขาดทุนติดต่อกัน นักเทรดต้องเตรียมตัว เพื่อให้สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและมั่นใจ นักเทรดจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับตลาดและศึกษาสินทรัพย์ที่กำลังเทรด แผนการจัดการความเสี่ยงคือสิ่งสำคัญ และนักเทรดต้องคอยควบคุมอารมณ์ การฟื้นตัวจากการขาดทุนอาจเป็นเรื่องยาก แต่การขาดทุนคือสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในโลกของการเทรด สิ่งสำคัญคือคุณจะรับมืออย่างไร และจะเอาชนะได้อย่างไร

สิ่งถัดไปที่คุณควรเรียนรู้? หมุนวงล้อเพื่อค้นหา!

rainbow circle

จุดย้อนกลับของแนวโน้ม: วิธีการค้นหา

แบ่งปัน

บทความก่อนหน้า

การเทรดช่วงเทศกาลวันหยุด – สิ่งที่ต้องรู้
Trading on Black Friday and holidays
การเทรดช่วงเทศกาลวันหยุด – สิ่งที่ต้องรู้

บทความถัดไป

7 นิสัยที่ดีของนักเทรด
7 นิสัยที่ดีของนักเทรด

โพสต์ล่าสุด

การเทรดช่วงเทศกาลวันหยุด – สิ่งที่ต้องรู้

21.11.2024

Trading on Black Friday and holidays

พลังสายรุ้งของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เพิ่มขึ้นทวีคูณ

18.11.2024

ข้อมูลเกี่ยวกับการแข่งเทรดที่ IQ Option – กฎ กลยุทธ์ และเคล็ดลับ

14.11.2024

IQ Option tournaments

11 บทเรียนชีวิตที่ได้เรียนรู้จาก 11 ปีของการเทรด

11.11.2024

11 years of IQ Option

การเลือกตั้งสหรัฐ 2024 – ตลาดจะตอบสนองอย่างไร

31.10.2024

US election impact on markets

หยุดการสูญเสียติดต่อกัน

29.10.2024