ตัวชี้วัดทางเทคนิคที่ดีที่สุดสำหรับการเทรดฟอเร็กซ์

มีนาคม 3, 2023

3 นาที

ในการเทรดฟอเร็กซ์มีตัวชี้วัดทางเทคนิคมากมายที่สามารถใช้หาแนวโน้ม จุดกลับตัวที่จะเกิดขึ้น รวมถึงระดับขายมากเกินไป (oversold) หรือซื้อมากเกินไป (overbought) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจมีความสำคัญต่อการตัดสินใจเทรด ดังนั้นการเลือกตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการเทรดฟอเร็กซ์จึงเป็นสิ่งสำคัญมากเพื่อให้เราได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ในบทความนี้ เราจะมาดู 5 ตัวชี้วัดทางเทคนิคยอดนิยมตัวสำหรับการเทรดและชุดตัวชี้วัดที่ใช้งานร่วมกันได้ดี เมื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือเหล่านี้และนำไปทดสอบ คุณจะสามารถเลือกตราสารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแนวทางการเทรดตนเองได้

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average)

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เป็นเครื่องมือง่ายๆ ที่นักเทรดหลายๆ คนใช้วิเคราะห์ทางเทคนิคในตลาดฟอเร็กซ์ ซึ่งถือเป็นตัวชี้วัดตามแนวโน้ม เป้าหมายหลักของการใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่คือ หาทิศทางแนวโน้ม (ขึ้นหรือลง)

✍️
เมื่อกราฟราคาข้ามเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จากด้านล่าง อาจชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มขาขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากกราฟราคาตัดผ่านเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จากด้านบน อาจชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มขาลง
ตัวชี้วัดค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่กับกราฟราคา EUR/GBP

ในการเทรดฟอเร็กซ์สามารถใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตัวเดียว หรือใช้ร่วมกับตัวชี้วัดทางเทคนิคอื่นๆ ก็ได้

โบลินเจอร์ แบนด์ (Bollinger Bands)

ตัวชี้วัด Bollinger Bands ประกอบด้วยเส้น 3 เส้น ได้แก่ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (สีส้ม) และเส้น Band 2 เส้น (สีแดงและสีเหลือง) ที่ปรากฏด้านบนและด้านล่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ซึ่งจะกำหนดระดับซื้อมากเกินไปและระดับขายมากเกินไป ซึ่งอาจบ่งบอกถึงการกลับตัวของแนวโน้มที่กำลังจะเกิดขึ้น

ตัวชี้วัด Bollinger Bands กับกราฟราคา EUR/JPY
✍️
หากกราฟราคาไปถึง Band บน อาจชี้ให้เห็นว่าสินทรัพย์มีการซื้อมากเกินไป (Overbought) ซึ่งอาจตามมาด้วยการขยับลง

ในทางกลับกัน หากกราฟราคาเข้าใกล้ Band ล่าง และแตะเส้นดังกล่าว อาจชี้ให้เห็นว่าสินทรัพย์ถูกขายมากเกินไป (Oversold) ในกรณีนี้ ราคาอาจขยับขึ้น

การกลับตัวของแนวโน้มอาจเกิดขึ้นเมื่อแท่งเทียนของกราฟราคาข้ามเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

Bollinger Bands อาจไม่ใช่ตัวชี้วัดการเทรดฟอเร็กซ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดหากใช้เพียงอย่างเดียว แต่อาจมีประโยชน์มากเมื่อใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ เช่น RSI

Relative Strength Indicator (RSI) หรือดัชนีกำลังสัมพัทธ์

RSI เป็นออสซิลเลเตอร์ที่อาจช่วยให้นักเทรดประเมินความแข็งแกร่งของเทรนด์และมองเห็นการกลับตัวที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะเคลื่อนที่ในระดับตั้งแต่ 0 ถึง 100 โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับระดับการซื้อมากเกินไปและการขายมากเกินไป

✍️
สินทรัพย์อาจถูกพิจารณาว่ามีการซื้อมากเกินไป (Overbought) หากเส้นฐาน RSI ขยับเหนือ 70 ที่จุดนี้นักเทรดอาจคาดหวังว่าแนวโน้มขาลงจะตามมา โดยที่ราคาจะลดลง

ในทางตรงกันข้าม เมื่อเส้น RSI ข้าม 30 สินทรัพย์อาจถูกมองว่าขายมากเกินไป (Oversold) นั่นคือจังหวะที่นักเทรดอาจคาดการณ์การกลับตัวเป็นแนวโน้มขาขึ้น

ตัวชี้วัด RSI กับกราฟราคา NZD/USD

Average True Range (ATR)

ตัวชี้วด ATR เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่ใช้โดยทั่วไปในการวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับตลาดฟอเร็กซ์ สามารถช่วยวัดความผันผวนของตลาด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดว่าแนวโน้มปัจจุบันจะดำเนินต่อไปหรือไม่

✍️
เมื่อความผันผวนของตลาดเพิ่มขึ้น เส้น ATR จะสูงขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตามความผันผวนที่สูงขึ้นอาจนำเสนอโอกาสเทรดใหม่ๆ นักเทรดบางรายอาจมองว่าจังหวะนี้เป็นโอกาสที่ดี

หากกิจกรรมทางการตลาดลดลง เส้น ATR ก็จะลดลงตามไปด้วย เมื่อนักเทรดเรียนรู้การประเมินความผันผวนของตลาดก็จะสามารถเลือกจุดเข้าออกที่เหมาะสมที่สุดได้

ตัวชี้วัด ATR กับกราฟราคา EUR/AUD

Parabolic SAR

จุดประสงค์หลักของตัวชี้วัดนี้คือช่วยกำหนดทิศทางของแนวโน้มและชี้ให้เห็นการกลับตัวที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะแสดงบนกราฟราคาเป็นชุดของจุดที่อยู่ด้านล่างหรือด้านบน

ตัวชี้วัด Parabolic SAR กับกราฟราคา EUR/USD
✍️

หากจุด Parabolic SAR อยู่เหนือกราฟราคา อาจบ่งบอกถึงแนวโน้มขาลงที่ตามมา เมื่อจุดต่างๆ ขยับใต้กราฟ อาจบ่งบอกถึงแนวโน้มขาขึ้นที่จะเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้อาจให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์และชี้ให้เห็นโอกาสเทรดได้

นอกจากนี้ Parabolic SAR ยังให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมในตลาดฟอเร็กซ์เมื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่นๆ เช่น ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

การผสมตัวชี้วัดทางเทคนิคที่ดีที่สุดสำหรับการเทรดฟอเร็กซ์

มีตัวชี้ฟอเร็กซ์ไม่กี่ตัวที่ใช้งานร่วมกันได้ดี การใช้เครื่องมือหลายอย่างพร้อมกันอาจให้ความแม่นยำมากขึ้นและให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับราคาสินทรัพย์ นี่คือตัวอย่างของชุดตัวชี้วัดฟอเร็กซ์ที่เป็นที่นิยม

RSI + Bollinger Bands

การใช้ตัวชี้ทางเทคนิค 2 ตัวนี้ร่วมกันอาจช่วยให้นักเทรดหาจังหวะที่เหมาะสมในการเปิดสถานะ Long (ซื้อ) หรือ Short (ขาย) ตามความต้องการของนักเทรด

หากกราฟราคาตัดเส้นล่างของ Bollinger Bands ขณะที่ RSI ข้ามระดับ Oversold และขยับขึ้น อาจบ่งบอกถึงแนวโน้มขาขึ้น

ตัวอย่างการใช้ตัวชี้วัด RSI + Bollinger Bands ร่วมกันที่ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มขาขึ้น

เมื่อแท่งเทียนไปถึงเส้นบนสุดของ Bollinger Bands โดยมี RSI ที่ระดับซื้อมากเกินไป อาจส่งสัญญาณถึงแนวโน้มขาลง

ตัวอย่างการใช้ตัวชี้วัด RSI + Bollinger Bands ร่วมกันที่ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มขาลง

จำไว้ว่าไม่มีตัวชี้วัดทางเทคนิคสำหรับการเทรดฟอเร็กซ์หรือชุดตัวชี้วัดใดที่สามารถให้ผลลัพธ์แม่นยำ 100% ดังนั้นอย่าลืมใช้ระดับ Stop-Loss และ Take-Profit ที่เหมาะสมในการเทรด

สิ่งถัดไปที่คุณควรเรียนรู้? หมุนวงล้อเพื่อค้นหา!

rainbow circle

หนังสือสร้างแรงบันดาลใจ 3 เล่ม เกี่ยวกับการเทรดที่ต้องอ่าน

แบ่งปัน

บทความก่อนหน้า

ภาพรวมตลาด – สินทรัพย์ที่ราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดและราคาลดลงสูงสุดในปี 2024
Best assets of 2024
ภาพรวมตลาด – สินทรัพย์ที่ราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดและราคาลดลงสูงสุดในปี 2024

บทความถัดไป

Ichimoku Cloud ตัวชี้วัดที่ใช้หาทิศทางของแนวโน้มตลาด
Ichimoku Cloud ตัวชี้วัดที่ใช้หาทิศทางของแนวโน้มตลาด

โพสต์ล่าสุด

ภาพรวมตลาด – สินทรัพย์ที่ราคาเพิ่มขึ้นสูงสุดและราคาลดลงสูงสุดในปี 2024

17.12.2024

Best assets of 2024

3 กลยุทธ์ที่มีผลกระทบสูงกับการเทรดไบนารีออปชัน

06.12.2024

Best Binary Options Strategies

วิธีขายชอร์ตคริปโต เพื่อทำกำไรในตลาดหมี

25.11.2024

Short selling on the crypto market.

การเทรดช่วงเทศกาลวันหยุด – สิ่งที่ต้องรู้

21.11.2024

Trading on Black Friday and holidays

เหตุใดการพัฒนาจิตวิทยาการเทรดของคุณจึงสำคัญ

20.11.2024

trading psychology

พลังสายรุ้งของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เพิ่มขึ้นทวีคูณ

18.11.2024