นักเทรดที่ใช้การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานรู้ดีว่า IQ Option มีปฏิทินเศรษฐกิจอยู่บนเว็บไซต์ที่นี่ ปฏิทินเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงเหตุการณ์สำคัญในโลกการเงิน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสินทรัพย์บางอย่างและทำให้ราคาเคลื่อนไหว ดังนั้นนักเทรดจึงควรอ่านปฏิทินเศรษฐกิจและทำความเข้าใจเหตุการณ์ต่างๆ ที่มักมีคำอธิบายซับซ้อน
ในความจริงการเข้าใจปฏิทินเศรษฐกิจอาจช่วยเพิ่มเทคนิคการซื้อขายให้กับนักเทรดหลายๆ คน อย่างไรก็ตาม ปฏิทินเศรษฐกิจอาจดูค่อนข้างซับซ้อนในตอนแรก ด้านล่างนี้เป็นคำอธิบายโดยละเอียดเกี่ยวกับความหมายของเหตุการณ์ต่างๆ ในปฏิทินเศรษฐกิจ
วิธีอ่านปฏิทินเศรษฐกิจ
ก่อนอื่นมาดูกันว่าโครงสร้างของปฏิทินเศรษฐกิจมีข้อมูลอะไรบ้าง เราจะมาแบ่งหน้าปฏิทินเศรษฐกิจออกเป็นหลายๆ ส่วน และพิจารณาทีละส่วน
ตัวกรอง: ประเภท วันที่ ผลกระทบ และอื่นๆ
ส่วนแรกของปฏิทินคือการตั้งค่าที่ช่วยให้คุณปรับปฏิทินตามความต้องการส่วนตัว ที่นี่คุณสามารถเลือกได้ว่าต้องการตรวจสอบข่าวเศรษฐกิจอะไรบ้าง เช่น รายงานการว่างงาน แถลงการณ์งบประมาณ และอัตราเงินเฟ้อ หรือการรายงานผลประกอบการของบริษัทที่สนใจ หากเป็นอย่างหลังคุณสามารถเปลี่ยนไปใช้แท็บ “รายได้“
การตั้งค่าอื่นที่สามารถเปลี่ยนได้คือวันที่ – ดูสัปดาห์ปัจจุบัน สัปดาห์ก่อนหน้าหรือสัปดาห์ถัดไป หรือแม้แต่เดือน ขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณสนใจ
การคลิกปุ่ม “ตัวกรอง” จะสามารถขยายเมนูและเลือกประเทศที่ต้องการ เลือกหมวดหมู่ของเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจ และกรองเหตุการณ์ตามความสำคัญ (ผลกระทบ “ต่ำ” “ปานกลาง” และ “สูง“)
หากต้องการดูกิจกรรมวันใดวันหนึ่ง ให้คลิกวันที่แล้วเลื่อนลง ตัวอย่างเช่น มาดูเหตุการณ์ของวันพุธที่ 14 เมษายน
เหตุการณ์และการคาดการณ์
หลังจากเลือกวันพุธที่ 14 เมษายน ปฏิทินเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจจะแสดงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในวันนั้นๆ ซึ่งอาจแสดงประเภทเหตุการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อตลาด อาจเป็นรายงานเกี่ยวกับการว่างงานหรือแถลงการงบประมาณ หรือแม้แต่การแสดงออกทางการเมืองที่มีความสำคัญสูง
ดังที่อธิบายข้างต้น คุณสามารถกรองเหตุการณ์ตามประเทศ หมวดหมู่ หรือผลกระทบ ในรายการด้านล่างจะเป็นเหตุการณ์สองเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบสูงสุด ซึ่งมีเครื่องหมายอิโมจิไฟสามอัน ผลกระทบสะท้อนถึงระดับที่เหตุการณ์อาจเพิ่มความผันผวนของตลาดต่อสินทรัพย์ที่ระบุ
แต่ละเหตุการณ์จะแสดงเวลา สกุลเงินที่คาดว่าจะมีผล ระดับผลกระทบ ชื่อ และคอลัมน์ผลลัพธ์สามคอลัมน์ ได้แก่ ตัวเลขจริง ตัวเลขคาดการณ์ ตัวเลขก่อนหน้า คอลัมน์ทั้งสามนี้แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์
“ตัวเลขคาดการณ์ (Forecast)” แสดงผลที่คาดว่าจะได้รับสำหรับข่าวนั้นๆ (เช่น เปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ย) “ตัวเลขก่อนหน้า (Previous)” แสดงผลลัพธ์ที่ออกก่อนหน้านี้สำหรับข่าวนั้นๆ “ตัวเลขจริง (Actual)” จะแสดงผลลัพธ์เมื่อมีการประกาศข่าว
วิธีทำความเข้าใจข่าวเศรษฐกิจ
การอ้างอิงตัวอย่างข่าวอาจช่วยอธิบายกลไกการทำงานกับปฏิทินเศรษฐกิจได้ มาดูข่าวที่มีผลกระทบสูงซึ่งมีกำหนดการในวันพฤหัสบดีที่ 15 เมษายน – ยอดขายปลีก MoM เพื่อทำความเข้าใจว่ามีผลต่อตลาดอย่างไรดังรายละเอียดด้านล่าง
เมื่อคลิกที่ข่าวคุณจะพบข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับเนื้อหาที่อาจส่งผลกระทบ ในกรณีนี้ประกอบด้วยคู่ฟอเร็กซ์กับ USD ยอดขายปลีก MoM เป็นตัวบ่งชี้การใช้จ่ายของผู้บริโภค ซึ่งกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในสหรัฐอเมริกา
คุณจะเห็นได้ว่าตัวเลขที่คาดการณ์คือ 5.9% ส่วนตัวเลขก่อนหน้าอยู่ที่ -3% วิธีทำความเข้าใจกับข้อมูลนี้
ผลลัพธ์สูงกว่าที่คาดไว้ (มากกว่า 5.9%) อาจเป็นเงื่อนไขเบื้องต้นสำหรับแนวโน้มขาขึ้นของ USD ในขณะที่ตัวเลขที่ต่ำกว่าการคาดการณ์อาจส่งผลให้เกิดแนวโน้มเชิงลบ (ขาลง) สำหรับ USD
สิ่งนี้ไม่ได้หมายความว่าข่าวจะส่งผลกระทบต่อเนื้อหาตามที่อธิบายอย่างแน่นอน ข่าวบางอย่างอาจมีผลกระทบน้อยกว่าและไม่ได้สะท้อนถึงการเคลื่อนไหวของตลาดมากเท่าข่าวที่มีผลกระทบสูงกว่า อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปการติดตามปฏิทินเศรษฐกิจมีความสำคัญ และอาจเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับนักเทรดที่ต้องการหาจังหวะความผันผวนที่เพิ่มขึ้น และคาดการณ์ว่าจะเกิดการเคลื่อนไหวที่เป็นขาขึ้นหรือขาลง
แนะนำการใช้ปฏิทินเศรษฐกิจเป็นแนวทางการเทรด
หากต้องการเริ่มต้นใช้ปฏิทินเศรษฐกิจ ก่อนอื่นให้ตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางการเทรดที่คุณจะใช้
- หากคุณกำลังเทรดฟอเร็กซ์ คุณสามารถเลือกคู่สกุลเงินที่สนใจมากที่สุด และหาช่วงเวลาที่คุณพร้อมจะให้ความสนใจอย่างเต็มที่กับการเทรด
- ในกรณีที่คุณชอบเทรดหุ้น คุณอาจต้องดูที่แท็บ “รายได้“
- หาข่าวสารที่อาจผลกระทบต่อการเทรดสินทรัพย์ที่คุณเลือก เปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อนหน้ากับการคาดการณ์ และตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้กลยุทธ์ให้สอดคล้อง
- คุณอาจใช้สมุดบันทึกการเทรด เพื่อบันทึกการซื้อขายของคุณและติดตามผล
- ผสมผสานการเทรดของคุณกับเครื่องมือการจัดการเงินเพื่อลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเทรด
- จำไว้ว่าผลลัพธ์ในอดีตไม่ได้เป็นตัวชี้วัดผลลัพธ์ในอนาคต