วิธีเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะกับการเทรด

มีนาคม 31, 2025

2 นาที

ตัวชี้วัดที่เหมาะกับการเทรดฟังดูเหมือนเป็นเรื่องง่าย แต่จะเข้าใจก็ต่อเมื่อได้ลองใช้งานจริง ตัวชี้วัดมีอยู่มากมาย แต่ในการเทรดจะต้องเลือกใช้งานตัวชี้วัดเพียงไม่กี่ตัว

มาดูรายละเอียดทั้งหมดและเรียนรู้เกี่ยวกับตัวชี้วัดการเทรด สามารถทำความเข้าใจได้ง่ายและไม่มีความซับซ้อน

ประเภทหลักของตัวชี้วัดการเทรด

ตัวชี้วัดการเทรดทั้งหมดสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก

1. ตัวชี้วัดแนวโน้ม – ติดตามตลาด

ตัวชี้วัดแนวโน้มช่วยให้รู้ว่าสินทรัพย์กำลังอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (ได้เวลาซื้อ) แนวโน้มขาลง (อาจทำการชอร์ต) หรือเคลื่อนที่แบบไซด์เวย์ (ไม่ต้องทำอะไร)

ตัวอย่างที่ดีที่สุด

  1. Moving Average (MA) – เปรียบได้บิดาแห่งตัวชี้วัดแนวโน้ม ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ช่วยปรับเรียบความเคลื่อนไหวของราคา ทำให้มองเห็นภาพรวมได้กว้างขึ้น ตัวเลือกยอดนิยม ได้แก่ SMA (Simple Moving Average), EMA (Exponential Moving Average) หรือ Double MA

  2. MACD (Moving Average Convergence Divergence) – วิธีเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สองค่า เพื่อดูว่ากำลังเป็นแนวโน้มที่มีแรงหนุนหรือกำลังสูญเสียโมเมนตัม

ใช้งานเมื่อไร – หากใช้กลยุทธ์เทรดที่เน้นการติดตามแนวโน้ม และไม่อยากเผลอซื้อตอนที่ราคาสูงสุดหรือขายตอนที่ราคาต่ำสุด

2. ตัวชี้วัดโมเมนตัม – หาคำตอบว่าแนวโน้มกำลังจะจบลงหรือเพิ่งเริ่มต้นขึ้น

ตัวชี้วัดโมเมนตัมจะบอกว่าราคาของสินทรัพย์กำลังเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วและแข็งแกร่งหรือกำลังสูญเสียความเร็ว ตัวชี้วัดนี้จะไม่สนใจเกี่ยวกับทิศทาง โฟกัสเฉพาะความเร็ว

ตัวอย่างที่ดีที่สุด

  1. RSI (Relative Strength Index) – วัดค่าว่าสินทรัพย์อยู่ในสภาวะซื้อมากเกินไป (สูงกว่า 70 อาจได้เวลาขาย) หรืออยู่ในสภาวะขายมากเกินไป (ต่ำกว่า 30 อาจเป็นโอกาสซื้อ)

  2. Stochastic Oscillator – อีกหนึ่งเครื่องมือโมเมนตัมที่จะบอกว่าสินทรัพย์กำลังอยู่ในสภาวะซื้อมากเกินไปหรือขายมากเกินไป แต่ใช้ได้ผลที่สุดตอนที่ทิศทางตลาดไซด์เวย์อยู่ในกรอบราคาแคบๆ

ใช้งานเมื่อไร – หากเป้าหมายคือหาแนวโน้มและจุดกลับตัวก่อนที่คนอื่นจะรู้ว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น

3. ตัวชี้วัดความผันผวน – ดูความแปรปรวนของตลาด

ตัวชี้วัดความผันผวนช่วยวัดว่าราคาสวิงรุนแรงแค่ไหน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้รู้ว่าต้องเข้าเทรดหรือออกเทรดตอนไหน

ตัวอย่างที่ดีที่สุด

  1. Bollinger Band – แบนด์จะขยายออกเมื่อความผันผวนสูง และแบนด์จะหดตัวเมื่อสถานการณ์เริ่มสงบ หากราคาแตะแบนด์บน อาจเป็นสภาวะซื้อมากเกินไป และหากแตะแบนด์ล่างสุด อาจเป็นสภาวะขายมากเกินไป
  2. ATR (Average True Range) – แทนที่จะคาดการณ์ทิศทางเอง ปล่อยให้ ATR บอกว่าสินทรัพย์เคลื่อนไหวเป็นอย่างไรในช่วงเวลาที่กำหนด เหมาะสำหรับการตั้งระดับ Stop Loss

ใช้งานเมื่อไร – หากต้องการหลีกเลี่ยงการเทรดระหว่างที่ตลาดกำลังสวิงอย่างรุนแรงหรือต้องการตัวช่วยกำหนดคำสั่ง Stop Loss ที่จะไม่ทำงานเร็วเกินไป

4. ตัวชี้วัดปริมาณ – เพราะว่าปริมาณ = ความแข็งแกร่ง

ตัวชี้วัดปริมาณจะยืนยันแนวโน้ม – ความเคลื่อนไหวของราคาที่ได้รับแรงหนุนจากปริมาณการเทรดที่แข็งแกร่งจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่าการเคลื่อนไหวแบบเลื่อนลอย

ตัวอย่างที่ดีที่สุด

  1. Volume Oscillator – วัดความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ของปริมาณ 2 ค่า ออสซิลเลเตอร์ที่กำลังเพิ่มขึ้นเป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าความสนใจเพิ่มขึ้น ช่วยหาแนวโน้มที่แข็งแกร่งหรือจุดกลับตัวที่เป็นไปได้
  2. Weis Wave Volume – จัดกลุ่มปริมาณตามคลื่นราคา ช่วยให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้นระหว่างแรงซื้อกับแรงขายเวลาผ่านไป เหมาะสำหรับค้นหาการสะสม (Accumulation) หรือการกระจาย (Distribution)

ใช้งานเมื่อไร – หากต้องการตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่ได้กำลังติดตามแนวโน้มที่อ่อนแรงซึ่งกำลังจะพังทลาย

✍️ เคล็ดลับโบนัสใช้วิดเจ็ตปริมาณที่อยู่ใน ตัวชี้วัดวิดเจ็ต บนแพลตฟอร์ม IQ Option ซึ่งจะแสดงปริมาณการเทรดแบบเรียลไทม์โดยตรงบนกราฟ ช่วยยืนยันความแข็งแกร่งของแนวโน้มได้ทันที

วิธีเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะกับการเทรด

  1. ใช้อย่างเรียบง่าย – ยิ่งเพิ่มตัวชี้วัดหลายตัว กราฟจะยิ่งดูยุ่งเหยิงมากขึ้น เลือกเพียงหนึ่งหรือสองตัวชี้วัดต่อประเภท – ไม่ใช่เลือกทุกอย่าง

  2. จับคู่ตัวชี้วัดกับกลยุทธ์ – หากเทรดตามแนวโน้ม ตัวชี้วัดแนวโน้มจะเหมาะสำหรับการใช้งานมากที่สุด หากชอบเทรดจุดกลับตัว การเลือกใช้ตัวชี้วัดโมเมนตัมจะเหมาะสมที่สุด

  3. เลือกตัวชี้วัดที่เหมาะกับคลาสสินทรัพย์ – ตัวชี้วัดที่ใช้ได้ดีกับหุ้นอาจไม่ได้ผลกับออปชัน ลองอ่านบทความเรื่อง 5 ตัวชี้วัดยอดเยี่ยมสำหรับไบนารีออปชัน

  4. ใช้ตัวชี้วัดที่ส่งเสริมกัน – ตัวชี้วัดแนวโน้ม + ตัวชี้วัดโมเมนตัม = คอมโบที่ดีที่สุด ตัวชี้วัดสองตัวที่ทำหน้าที่เหมือนกัน = ข้อมูลมากเกินไป หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีใช้ตัวชี้วัดการเทรดแบบผสมผสานหลายตัวชี้วัด ให้อ่านบทความนี้

  5. ทดสอบก่อนเทรดด้วยเงินจริง – ตัวชี้วัดที่ดูดีไม่ได้หมายความว่าจะใช้งานได้ผลจริง ทำการทดสอบกลยุทธ์ด้วยการเทรดบนบัญชีทดลองก่อนนำไปใช้งานจริง

สรุปส่งท้าย

ไม่มีตัวชี้วัดที่ใช้ได้กับทุกการเทรด ตัวชี้วัดที่ดีที่สุดคือตัวชี้วัดที่เหมาะกับกลยุทธ์ของเทรดเดอร์ ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และสไตล์การเทรด หากต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับรูปแบบตัวชี้วัดการเทรดที่ได้ผลจริง ให้เริ่มต้นด้วยเงินน้อยๆ ทำการทดลอง และตรวจสอบด้วยบัญชีทดลอง

ไปที่แพลตฟอร์ม IQ Option และเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะกับการเทรด!

แบ่งปัน

บทความถัดไป

เกร็ดความรู้การเทรดไบนารีออปชัน – 5 เคล็ดลับช่วยประหยัดเงินและเวลา
เกร็ดความรู้การเทรดไบนารีออปชัน – 5 เคล็ดลับช่วยประหยัดเงินและเวลา

โพสต์ล่าสุด

วิธีเลือกตัวชี้วัดที่เหมาะกับการเทรด

31.03.2025

How to Choose the Right Indicators

เกร็ดความรู้การเทรดไบนารีออปชัน – 5 เคล็ดลับช่วยประหยัดเงินและเวลา

24.03.2025

เช็คข้อเท็จจริง 5 ความเชื่องมงายเกี่ยวกับการเทรด

17.03.2025

7 หุ้น AI ติดท็อปน่าเทรดปี 2025

10.03.2025

วิธีกระจายความเสี่ยงด้วยการเทรด ETF

03.03.2025

Diversify Your Trading with ETFs

เคลื่อนไหวเร็ว ได้ผลลัพธ์ไว – คู่มือเทรดหุ้นระยะสั้น

24.02.2025

Short-term stock-trading