Moving Average Convergence/Divergence หรือเส้น MACD คือ หนึ่งในออสซิลเลเตอร์โมเมนตัมที่ง่ายและมีประสิทธิภาพมากที่สุด MACD เป็นตัวชี้วัดโมเมนตัมตามแนวโน้ม ตัวชี้วัดนี้ได้รับการพัฒนาโดย Gerald Appel ในช่วงปลายทศวรรษ 1970
ลักษณะการทำงานและวิธีการเทรดด้วย Macd
ตัวชี้วัดนี้เหมาะกับการหาจุดเข้าออก MACD ให้สัญญาณที่สอดคล้องกันในช่วงเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของแนวโน้ม
เส้นเร็วและเส้นช้า
ดูเหมือนว่าการทำความเข้าใจหลักการวิธีการเทรดด้วย Macd จะยากกว่าการนำตัวชี้วัดไปปฏิบัติ เพื่อแสดงให้เห็น Convergence/Divergence ของค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ได้ดีขึ้น เราสามารถใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอ็กซ์โพเนนเชียล (EMA) ที่มีระยะเวลา 12 และ 26
ให้สังเกตสิ่งต่อไปนี้ด้วยการดูภาพข้างต้น
- จุดตัดของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สองเส้นบนกราฟราคาสอดคล้องกับจุดตัดของเส้น MACD เร็ว (สีน้ำเงิน) และเส้นศูนย์แนวนอน ค่าของ MACD เท่ากับความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบเอกซ์โปเนนเชียลกับช่วงเวลาที่สอดคล้องกัน
- เส้นช้า (สีส้ม) ในหน้าต่างตัวชี้วัด MACD คือค่าเฉลี่ยของเส้น MACD (สีน้ำเงิน)
แถบสีเขียวและแถบสีแดง
หลังจากที่ได้เรียนรู้วิธีการเทรดด้วย Macd จะสังเกตได้ว่านอกเหนือจากเส้นสีน้ำเงินและสีส้ม MACD จะใช้แถบสีเขียวและแถบสีแดง
แถบสีเขียวจะปรากฏในหน้าต่าง MACD เมื่อ
1. เส้นเร็วอยู่เหนือเส้นช้าและระยะห่างระหว่างสองเส้นเพิ่มขึ้น
2. เส้นเร็วอยู่ต่ำกว่าเส้นช้าและระยะห่างระหว่างสองเส้นลดลง
แถบสีแดงจะปรากฏในหน้าต่าง MACD เมื่อ
1. เส้นเร็วอยู่ต่ำกว่าเส้นช้าและระยะห่างระหว่างสองเส้นเพิ่มขึ้น
2. เส้นเร็วอยู่เหนือเส้นช้าและระยะห่างระหว่างสองเส้นลดลง
วิธีการเทรดด้วย Macd อาจดูซับซ้อนเล็กน้อย แต่แนวคิดทั่วไปนั้นเรียบง่าย เมื่อเส้นสีน้ำเงินเคลื่อนขึ้นเร็วกว่าหรือเคลื่อนลงช้ากว่าเส้นสีส้ม MACD จะแสดงแถบสีเขียว หากตรงกันข้าม แถบจะกลายเป็นสีแดง
การตั้งค่า MACD สำหรับการเดย์เทรด
หากต้องการใช้ตัวชี้วัด MACD ในการเดย์เทรด ให้คลิกปุ่ม “ตัวชี้วัด” ที่มุมซ้ายล่างของหน้าจอ จากนั้นเลือก MACD จากรายการตัวชี้วัดที่เป็นไปได้
คลิก “นำไปใช้” หากต้องการใช้ตัวชี้วัดกับพารามิเตอร์มาตรฐาน หรือปรับระยะเวลาเร็ว ช้า และสัญญาณในแท็บที่เปิดอยู่
ความไวของตัวชี้วัดสามารถเพิ่มขึ้นได้ด้วยการลดระยะเวลาที่เร็วและเพิ่มระยะเวลาที่ช้า
วิธีใช้ตัวชี้วัดกับการเดย์เทรด
เส้น MACD คือ ตัวชี้วัดที่มีลักษณะซับซ้อน ทำให้การนำ MACD ไปใช้จริงทำได้หลายวิธี
เส้นสัญญาณตัดผ่าน คาดว่าจะมีแนวโน้มขาขึ้นเมื่อเส้นเร็วปรากฏขึ้นและตัดผ่านเหนือเส้นช้า คาดว่าจะมีแนวโน้มขาลงเมื่อเส้นเร็วปรากฏขึ้นและตัดตัดผ่านใต้เส้นช้า
ตัดผ่านเส้นกลาง คาดว่าจะมีแนวโน้มขาขึ้นเมื่อเส้นเร็วเคลื่อนที่เหนือเส้นศูนย์จนกลายเป็นบวก คาดว่าจะมีแนวโน้มขาลงเมื่อเส้นเร็วเคลื่อนไปต่ำกว่าเส้นศูนย์จนกลายเป็นลบ
ไดเวอร์เจนส์ (Divergences) ไดเวอร์เจนส์จะปรากฏขึ้นเมื่อกราฟราคาและกราฟ MACD แสดงการเคลื่อนไหวที่มีทิศทางตรงกันข้าม ไดเวอร์เจนส์ขาขึ้นเกิดขึ้นเมื่อราคาทำจุดต่ำสุดที่ต่ำลงเรื่อยๆ (Lower Low) และเส้น MACD ก่อตัวที่จุดราคาต่ำสุดที่สูงกว่าก่อนหน้า (Higher Low) ไดเวอร์เจนส์ขาลงเกิดขึ้นเมื่อราคาทำจุดสูงสุดที่สูงขึ้นเรื่อย (Higher High) และเส้น MACD ก่อตัวที่จุดสูงสุดใหม่ต่ำลงกว่าจุดสูงสุดเดิม (Lower High) ไดเวอร์เจนส์อาจเป็นสัญญาณการกลับตัวของแนวโน้มที่กำลังจะเกิดขึ้น
เส้น MACD คือ ตัวชี้วัดที่ช่วยให้นักเทรดใช้การติดตามแนวโน้มและตัวชี้วัดโมเมนตัมไปพร้อมกัน ใช้ได้กับทั้งช่วงเวลาสั้นและช่วงเวลายาว ทำให้เป็นเครื่องมือขั้นสูงของมืออาชีพ