ตัวชี้วัดทางเทคนิคที่ดีที่สุดสำหรับการเทรดฟอเร็กซ์

มีนาคม 3, 2023

3 นาที

ในการเทรดฟอเร็กซ์มีตัวชี้วัดทางเทคนิคมากมายที่สามารถใช้หาแนวโน้ม จุดกลับตัวที่จะเกิดขึ้น รวมถึงระดับขายมากเกินไป (oversold) หรือซื้อมากเกินไป (overbought) ซึ่งข้อมูลเหล่านี้อาจมีความสำคัญต่อการตัดสินใจเทรด ดังนั้นการเลือกตัวชี้วัดที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการเทรดฟอเร็กซ์จึงเป็นสิ่งสำคัญมากเพื่อให้เราได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ในบทความนี้ เราจะมาดู 5 ตัวชี้วัดทางเทคนิคยอดนิยมตัวสำหรับการเทรดและชุดตัวชี้วัดที่ใช้งานร่วมกันได้ดี เมื่อเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือเหล่านี้และนำไปทดสอบ คุณจะสามารถเลือกตราสารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแนวทางการเทรดตนเองได้

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average)

ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่เป็นเครื่องมือง่ายๆ ที่นักเทรดหลายๆ คนใช้วิเคราะห์ทางเทคนิคในตลาดฟอเร็กซ์ ซึ่งถือเป็นตัวชี้วัดตามแนวโน้ม เป้าหมายหลักของการใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่คือ หาทิศทางแนวโน้ม (ขึ้นหรือลง)

✍️
เมื่อกราฟราคาข้ามเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จากด้านล่าง อาจชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มขาขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากกราฟราคาตัดผ่านเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่จากด้านบน อาจชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มขาลง
ตัวชี้วัดค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่กับกราฟราคา EUR/GBP

ในการเทรดฟอเร็กซ์สามารถใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ตัวเดียว หรือใช้ร่วมกับตัวชี้วัดทางเทคนิคอื่นๆ ก็ได้

โบลินเจอร์ แบนด์ (Bollinger Bands)

ตัวชี้วัด Bollinger Bands ประกอบด้วยเส้น 3 เส้น ได้แก่ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย (สีส้ม) และเส้น Band 2 เส้น (สีแดงและสีเหลือง) ที่ปรากฏด้านบนและด้านล่างเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ซึ่งจะกำหนดระดับซื้อมากเกินไปและระดับขายมากเกินไป ซึ่งอาจบ่งบอกถึงการกลับตัวของแนวโน้มที่กำลังจะเกิดขึ้น

ตัวชี้วัด Bollinger Bands กับกราฟราคา EUR/JPY
✍️
หากกราฟราคาไปถึง Band บน อาจชี้ให้เห็นว่าสินทรัพย์มีการซื้อมากเกินไป (Overbought) ซึ่งอาจตามมาด้วยการขยับลง

ในทางกลับกัน หากกราฟราคาเข้าใกล้ Band ล่าง และแตะเส้นดังกล่าว อาจชี้ให้เห็นว่าสินทรัพย์ถูกขายมากเกินไป (Oversold) ในกรณีนี้ ราคาอาจขยับขึ้น

การกลับตัวของแนวโน้มอาจเกิดขึ้นเมื่อแท่งเทียนของกราฟราคาข้ามเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

Bollinger Bands อาจไม่ใช่ตัวชี้วัดการเทรดฟอเร็กซ์ที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดหากใช้เพียงอย่างเดียว แต่อาจมีประโยชน์มากเมื่อใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่นๆ เช่น RSI

Relative Strength Indicator (RSI) หรือดัชนีกำลังสัมพัทธ์

RSI เป็นออสซิลเลเตอร์ที่อาจช่วยให้นักเทรดประเมินความแข็งแกร่งของเทรนด์และมองเห็นการกลับตัวที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะเคลื่อนที่ในระดับตั้งแต่ 0 ถึง 100 โดยให้ข้อมูลเกี่ยวกับระดับการซื้อมากเกินไปและการขายมากเกินไป

✍️
สินทรัพย์อาจถูกพิจารณาว่ามีการซื้อมากเกินไป (Overbought) หากเส้นฐาน RSI ขยับเหนือ 70 ที่จุดนี้นักเทรดอาจคาดหวังว่าแนวโน้มขาลงจะตามมา โดยที่ราคาจะลดลง

ในทางตรงกันข้าม เมื่อเส้น RSI ข้าม 30 สินทรัพย์อาจถูกมองว่าขายมากเกินไป (Oversold) นั่นคือจังหวะที่นักเทรดอาจคาดการณ์การกลับตัวเป็นแนวโน้มขาขึ้น

ตัวชี้วัด RSI กับกราฟราคา NZD/USD

Average True Range (ATR)

ตัวชี้วด ATR เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพที่ใช้โดยทั่วไปในการวิเคราะห์ทางเทคนิคสำหรับตลาดฟอเร็กซ์ สามารถช่วยวัดความผันผวนของตลาด ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดว่าแนวโน้มปัจจุบันจะดำเนินต่อไปหรือไม่

✍️
เมื่อความผันผวนของตลาดเพิ่มขึ้น เส้น ATR จะสูงขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของราคาตามความผันผวนที่สูงขึ้นอาจนำเสนอโอกาสเทรดใหม่ๆ นักเทรดบางรายอาจมองว่าจังหวะนี้เป็นโอกาสที่ดี

หากกิจกรรมทางการตลาดลดลง เส้น ATR ก็จะลดลงตามไปด้วย เมื่อนักเทรดเรียนรู้การประเมินความผันผวนของตลาดก็จะสามารถเลือกจุดเข้าออกที่เหมาะสมที่สุดได้

ตัวชี้วัด ATR กับกราฟราคา EUR/AUD

Parabolic SAR

จุดประสงค์หลักของตัวชี้วัดนี้คือช่วยกำหนดทิศทางของแนวโน้มและชี้ให้เห็นการกลับตัวที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งจะแสดงบนกราฟราคาเป็นชุดของจุดที่อยู่ด้านล่างหรือด้านบน

ตัวชี้วัด Parabolic SAR กับกราฟราคา EUR/USD
✍️

หากจุด Parabolic SAR อยู่เหนือกราฟราคา อาจบ่งบอกถึงแนวโน้มขาลงที่ตามมา เมื่อจุดต่างๆ ขยับใต้กราฟ อาจบ่งบอกถึงแนวโน้มขาขึ้นที่จะเกิดขึ้น สิ่งเหล่านี้อาจให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของราคาสินทรัพย์และชี้ให้เห็นโอกาสเทรดได้

นอกจากนี้ Parabolic SAR ยังให้ข้อมูลเชิงลึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับกิจกรรมในตลาดฟอเร็กซ์เมื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่นๆ เช่น ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่

การผสมตัวชี้วัดทางเทคนิคที่ดีที่สุดสำหรับการเทรดฟอเร็กซ์

มีตัวชี้ฟอเร็กซ์ไม่กี่ตัวที่ใช้งานร่วมกันได้ดี การใช้เครื่องมือหลายอย่างพร้อมกันอาจให้ความแม่นยำมากขึ้นและให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับราคาสินทรัพย์ นี่คือตัวอย่างของชุดตัวชี้วัดฟอเร็กซ์ที่เป็นที่นิยม

RSI + Bollinger Bands

การใช้ตัวชี้ทางเทคนิค 2 ตัวนี้ร่วมกันอาจช่วยให้นักเทรดหาจังหวะที่เหมาะสมในการเปิดสถานะ Long (ซื้อ) หรือ Short (ขาย) ตามความต้องการของนักเทรด

หากกราฟราคาตัดเส้นล่างของ Bollinger Bands ขณะที่ RSI ข้ามระดับ Oversold และขยับขึ้น อาจบ่งบอกถึงแนวโน้มขาขึ้น

ตัวอย่างการใช้ตัวชี้วัด RSI + Bollinger Bands ร่วมกันที่ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มขาขึ้น

เมื่อแท่งเทียนไปถึงเส้นบนสุดของ Bollinger Bands โดยมี RSI ที่ระดับซื้อมากเกินไป อาจส่งสัญญาณถึงแนวโน้มขาลง

ตัวอย่างการใช้ตัวชี้วัด RSI + Bollinger Bands ร่วมกันที่ชี้ให้เห็นถึงแนวโน้มขาลง

จำไว้ว่าไม่มีตัวชี้วัดทางเทคนิคสำหรับการเทรดฟอเร็กซ์หรือชุดตัวชี้วัดใดที่สามารถให้ผลลัพธ์แม่นยำ 100% ดังนั้นอย่าลืมใช้ระดับ Stop-Loss และ Take-Profit ที่เหมาะสมในการเทรด

แบ่งปัน

บทความก่อนหน้า

Detrended Price Oscillator (DPO) ตัวชี้วัดที่ไม่สนใจแนวโน้ม
Detrended Price Oscillator
Detrended Price Oscillator (DPO) ตัวชี้วัดที่ไม่สนใจแนวโน้ม

บทความถัดไป

Ichimoku Cloud ตัวชี้วัดที่ใช้หาทิศทางของแนวโน้มตลาด
Ichimoku Cloud ตัวชี้วัดที่ใช้หาทิศทางของแนวโน้มตลาด

โพสต์ล่าสุด

Detrended Price Oscillator (DPO) ตัวชี้วัดที่ไม่สนใจแนวโน้ม

31.01.2025

Detrended Price Oscillator

มาเทรดไปด้วยกัน ดู 3 สิทธิพิเศษที่ซ่อนอยู่ เฉพาะไทยคอมมูนิตี้เท่านั้น

23.01.2025

IQ Option communities for Thai traders

สินทรัพย์คริปโตติดท็อป ข่าวลือ และกลยุทธ์เทรดปี 2025

20.01.2025

Crypto Trading in 2025

5 กลยุทธ์เทรดสำหรับปี 2025 ค้นหากลยุทธ์ที่เหมาะกับตัวเอง

15.01.2025

5 Trading Strategies for 2025

วิธีเริ่มต้นเทรดในปี 2025

10.01.2025

how to start trading in 2025

3 กลยุทธ์ที่มีผลกระทบสูงกับการเทรดไบนารีออปชัน

26.12.2024

Best Binary Options Strategies